ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • พงษ์ประยูร แก้วหมุน คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, ภาวะแทรกซ้อน, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประชากรคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และขึ้นทะเบียนที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลป่าพะยอมอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548–2560 จำนวน 983 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วย จำนวน 140 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 843 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกส์พหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านเพศ (OR=2.27, 95%CI: 1.26 ถึง 4.11) อายุ 50-70 ปี (OR=6.85, 95%CI: 2.32 ถึง 20.18) อายุ 70 ปีขึ้นไป (OR=33.32, 95%CI: 11.15 ถึง 99.56) ระดับการศึกษา (OR=1.93, 95%CI: 1.12 ถึง 3.33) ภูมิลำเนา (OR=5.72, 95%CI: 3.44 ถึง 9.50) ระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน (OR=6.40, 95%CI:  2.21 ถึง 18.54) โรคร่วม (OR=44.14, 95%CI: 9.99 ถึง 195.01) การดื่มแอลกอฮอล์ (OR=8.62, 95%CI: 3.28 ถึง 22.69) และขาดการออกกำลังกาย (OR=5.67, 95%CI: 2.96 ถึง 10.85) มีความสัมพันธ์ต่อภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากผลการศึกษาดังกล่าว บุคลากรทางสาธารณสุขควรให้ความสำคัญต่อภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังและสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเฉพาะการออกกำลังกายและงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันและยืดระยะเวลาของการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในอนาคตนอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระยะการป่วยเกิน 15 ปี และมีโรคร่วม ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังต่อไป

References

1. Levey AS, Eckardt KU. Tsukamoto Y, Levin A, Coresh J, Rossert J, et al. Definition andclassification of chronic kidney disease : a position statement from Kidney Disease : ImprovingGlobal Outcomes (KDIGO). Kidney International 2005; 67:2089-100.
2. จุฑามาศ เทียนสะอาด, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, นพวรรณ พินิจขจรเดช. การรับรู้ภาระจากอาการภาระค่าใช้จ่ายกับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม. คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล 2017; 23:60-77.
3. Perkovic V, Cass A, Patel AA, Suriyawongpaisal P, Barzi F, Chadban S, et al. High prevalence of chronic kidney disease in Thailand. Kidney International 2008;73:473-79.
4. Ingsathit A, Chaiprasert A, Thakkinstian A and Sangthawan, P. Prevalence and Risk Factors of Chronic Kidney Disease in the Thai Adult Population : Thai SEEK Study. Nephrol Dial Transplant. 2010; 25: 1567 - 1575.
5.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง.ระบบโปรแกรม HDC Service.พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2561], เข้าถึงได้จาก http://www.ptho.moph.go.th
6.สังคม ศุภรัตนกุล. การเลือกแบบแผนการรักษาการเจ็บป่วยของครัวเรือนในพื้นที่ชนบทอีสาน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2018; 11:12-22.
7. Ong - Ajyooth L, Vareesangthip K, Khonputsa P. Aekplakorn W. Prevalence of Chronic Kidney Disease in Thai Adult : a National Health Survey.BMC Nephrology 2009; 10: 1 - 6.
8. ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย และกมลรัตน์ บัญญัตินพรัตน์. อัตราตายและมูลค่าการรักษา พยาบาลผู้ป่วยในด้วยโรคไตเรื้อรังใน 3 กองทุนหลัก.ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559; 32:
1 – 9.
9. กมลวรรณ สาระ, สมชาย สุริยะไกร และจุไรรัตน์ ทุมนันท์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 – 5 ในโรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559
10. Shankar A, Klein R, and Klein BE. The Association Among Smoking, Heavy Drinking, and Chronic Kidney Disease,. American Journal of Epidemiology 2006; 164 : 263 - 271.
11. มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเทียมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2557; 20: 5 – 16.
12. Stein I, Hallan, Kunihiro M, Yingying S, Bakhtawar K, Mahmoodi, Corri B. et al. Age andAssociation of Kidney measure with mortality and Eng-Stage Renal Disease. American Medical Association 2012; 38: 2349-60
13. นิตยา สุภาภรณ์. การรับรู้ของประชาชนต่อความอยู่ดี มีสุขในชุมชนบางไผ่.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
14. Haroun MK, Jaar BG, Hoffman SC,Comstock GW, Klag MJ,Coresh J. Risk factors for chronic kidney disease: a prospective study of 23,534 men and women in Washington County, Maryland. J Am Soc Nephrol 2003; 14: 2934-41.
15. บัญชา สถิระพจน์. อาการอายุรศาสตร์.เวชสารแพทย์ทหารบก. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. 2554
16. ปวีณา สุสัณฐิติพาษ์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น โดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรอง. วิทยานิพนธฺวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
17. Lee HK., Shim KW., Lee HS.,Lee SW.,Chun H., Byan AR.,et al. Relationship of the Triglyceride to High Density Lipoprotein Cholesterol Ratio with the Prevalence of Chronic Kidney Disease in Korean Adults: The Fifth Korean National Health and Nutrition Examination Survey. korea journal family practice 2016; 6: 191 – 98.
18. Chan, CM. Hyperlipidaemia in Chronic Kidney Disease.Ann Acad Med Singapore 2005; 34: 31 – 5.
19. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.บัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.[เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2561] เข้าถึงได้จาก
http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15672&id_L3=1097
20. White SL, Polkinghorne KR, Cass A, Shaw JE, Atkin RC, Chadban SJ. Alcohol consumption and 5-year onset of chronic kidney disease : the AusDiab study.Nephrol Dial Transplant 2009;24:2464-72.
21. Stengel B, Tarver-Carr ME, Powe NR, Eberhardt MS, Brancati FL. Lifestyle factors, obesityand the risk of chronic kidney disease. Epidemiology 2003; 14: 479 – 87.
22. Chen IR ,Wang SM, Liang CC, Kuo HL, Chang CT, Liu JH, et al. Association of Walking with Survival and RRT Among Patient with CKD Stage 3-5. Clin J AM Soc Nephrol 2014; 9: 1183-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-20