ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

วัณโรค, เสียชีวิต, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560 -2564 มีเป้าหมายลดการเสียชีวิต เน้นส่งเสริมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการป้องกัน ดูแลรักษาและควบคุมวัณโรค เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรค การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ ที่ขึ้นทะเบียนโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 13 แห่ง จังหวัดลำปาง ข้อมูลจากโปรแกรมบริหารงานคลินิกวัณโรค (TB-Clinic management :TBCM) ระหว่างปี  2555- 2559  สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยระหว่างการรักษา ใช้สถิติทดสอบ chi-square test และใช้ Multivariable Logistic Regression ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จำนวน 2,360 ราย เพศชาย ร้อยละ 74.3, อายุ < 60 ปี ร้อยละ 60.1, ผลเสมหะพบเชื้อน้อย (<2+) ร้อยละ 53.5, ติดเชื้อ HIV ร้อยละ 8.9, มีโรคร่วม ร้อยละ 23.3, มีชีวิต ร้อยละ 84.1 และเสียชีวิต ร้อยละ 15.9   ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)  ได้แก่ ผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (AOR=3.02, 95% CI: 2.33-3.90), การติดเชื้อเอชไอวี (AOR=1.19, 95% CI: 1.15-1.24), โรคถุงลมโป่งพอง (AOR=2.61, 95% CI: 1.42-4.81), โรคไต (AOR=2.95, 95% CI: 1.54-5.66)  และโรคมะเร็ง (AOR=4.01, 95% CI: 1.39-11.55) จากการศึกษาครั้งนี้ ควรตระหนักและให้ความสำคัญการดูแลผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และมีโรคร่วม เพื่อลดอัตราเสียชีวิตระหว่างการรักษา ส่งผลให้อัตราการรักษาสำเร็จเพิ่มสูงขึ้น

References

1. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; 2560 (หน้า III)
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. การประเมินผลงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2561.กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง; 2561.
3. สำราญ ธรรมสาร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่ โรงพยาบาลอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.
4. พัฒนา โพธิ์แก้ว, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน, นภาวรรณ สุกรภาส, สุดาณี บูรณเบ็ญจเสถียร, วิรัช กลิ่นบัวแย้ม และคณะ. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ.2556; 34(2): 51-62.
5. Yong-Soo Kwon, Yee Hyung Kim, Jae-Uk Song, Kyeongman Jeon, Junwhi Song, Yon Ju Ryu, et al. Risk Factors for Death during Pulmonary Tuberculosis Treatment in Korea: A Multicenter Retrospective Cohort Study. Journal of Korean Medical Science, 2014, 29 (9): 1226-31.
6. พันธ์ชัย รัตนสุบรรณ, วิเชียร ตระกูลกลกิจ, สากล คมขำ, เสริมสุข รัตนสุวรรณ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ภายใต้รูปแบบการดำเนินงาน Non-Family DOT ของโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2550-2558.วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ. 2561; 37(2): 35-41.
7. เจริญศรี แซ่ตั้ง. ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค. 2560; 43(4): 436-447.
8. ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2560; 9(1): 19-27.
9. Siriluck Anunnatsiri, Ploenchan Chetchotisakd, Christine Wanke. Factors Associated with Treatment Outcomes in Pulmonary Tuberculosis in Northeastern Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health. 2005, 36(2): 324-330.
10. Muhammad Atif, Zainab Anwar, Razia Kaneez Fatima, Iram Malik, Saima Asghar, Shane Scahill. Analysis of tuberculosis treatment outcomes among pulmonary tuberculosis patients in Bahawalpur Pakistan. BMC Reserch Notes. 2018, 11: 1-6.
11. Roya Alavi-Naini, Ali Moghtaderi, Maliheh Metanat, Mehidi Mohammadi, Mahnaz Zabetian. Factors associated with mortality in tuberculosis patients. Journal of Research in Medical Sciences.2013, 18(1): 52-55.
12.วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2559, 23(1): 22-34.
13. Gustavo E. Velásquez, J. Peter Cegielski, Megan B. Murray, Martin J. A. Yagui, Luis L. Asencios, Jaime N. Bayona, et al. Impact of HIV on mortality among patients treated for tuberculosis in Lima, Peru: a prospective cohort study. BMC Infectious Disease.2016; 16:45.
14. จิตติพร มากเมือง, เบญจวรรณ ตาแก้ว, รุ้งอุษา นาคคงคา, ฤทัยรัตน์ แสงนา, วีรพันธ์ การบรรจง, กนกรส โค้วจริยพันธุ์, และคณะ. ปัจจัยเกี่ยวเนื่องอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร. 2559; 8(1): 53-59.
15. Chou-Han Lin, Chou-Jui Lin, You-Win Kuo, Jann-Yuan Wang, Chia-Lin Hsu, Jong-Min Chen, et al. Tuberculosis mortality: patient characteristics and causes. BMC Infectious Disease.2014; 14:5.
16. อัจฉรา รอดเกิด. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562; 33 (1): 91-102.
17.วรางคณา กีรติชนานนท์, สุริยา กีรติชนานนท์. แนวทางการดูแลรักษาวัณโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง.ธรรมศาสตร์เวชสาร.2559; 16(1): 101-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-20