ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่โดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม: กรณีศึกษาตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การเลิกสูบบุหรี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ โดยเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการเลิกสูบบุหรี่ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูบบุหรี่ ในตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง จำนวน 41 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ซึ่งคุณสมบัติการเข้าร่วมเป็นประชากรจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีโรคเรื้อรังทางระบบหายใจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม โดยมีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 10 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย กิจกรรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกบุหรี่ ความคาดหวังในผลลัพธ์ที่ได้จากการเลิกบุหรี่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ พบว่า คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกบุหรี่ ความคาดหวังในผลลัพธ์ที่ได้จากการเลิกสูบบุหรี่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้เข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.01 หลังใช้โปรแกรมทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มทดลองเลิกสูบบุหรี่ได้ต่อเนื่อง จำนวน 28 คน (ร้อยละ 68.29) ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ความสามารถตนเอง และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ข้อเสนอแนะควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลิกสูบบุหรี่ ได้อย่างยั่งยืน
References
2. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศจย.). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ; 2561 .
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสบป๋อน. รายงานสรุปผลงานสาธารณสุข ปีงบปีงบประมาณ 2561. ลำปาง: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสบป๋อน; 2561.
4. วิชัย นิยมรัตน์ และกนกศรี จาดเงิน. ผลการใช้กิจกรรมการบำบัดตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจเพื่อหยุดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดบางเกลือ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2555; 29-39.4.
5. ปรัชพร กลีบประทุม, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช และธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้สูบบุหรี่ ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559; 30-43.
6. ศิริญญา ชมขุนทด, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชาย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2557; 91-103.
7. Scerbo F, Faulkner G, Taylor A and Thomas S. Effects of exercise on cravings to smoke: the role of exercise intensity and cortisol. J Sports Sci. 2010; 11-19.
8. วิชัย นิยมรัตน์ และกนกศรี จาดเงิน. ผลการใช้กิจกรรมการบำบัดตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจเพื่อหยุดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดบางเกลือ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2555; 29-39.4.
9. พิมพ์นิภา ดิศรินทร์ไตรภาดา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการงดสูบบุหรี่ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมปั่นทอด้าย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2553.