การรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสุทธาเวช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ เอนกศักดิ์ โรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรพันธ์ สืบเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สิรินธร นิลวรรณาภา โรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การรับรู้อาการเตือน, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มุ่งศึกษาการรับรู้อาการเตือนและการจัดการโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุทธาเวช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มาใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุทธาเวช เก็บข้อมูลโดยวิธีการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.30 โดยมีอายุอยู่ในช่วง 35 – 81 ปี (เฉลี่ย 62.91 ปี SD = 9.50) ส่วนใหญ่อายุ 60 – 69 ปี ร้อยละ 57.14 และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาประมาณ 5 – 10 ปี ร้อยละ 53.10 โรคประจำตัวในกลุ่มตัวอย่าง มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย 1 โรค ร้อยละ 50.90 โดยประเภทโรคประจำตัวที่พบสูงสุด คือ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 60.00 การรับรู้อาการเตือนกลุ่มตัวอย่างสามในสี่ ร้อยละ 78.9 มีการรับรู้ว่าอาการสับสน มึนงง อย่างทันทีทันใด เป็นอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ที่น่าสนใจกลุ่มตัวอย่างถึง ร้อยละ 60.00 ไม่รับรู้ว่า การสูญเสียความสามารถในการทรงตัวทันทีทันใด เป็นอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการรับรู้ว่าวิธีการต่อไปนี้เป็นการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คือ การควบคุมน้ำหนัก รับประทานผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด ลดอาหารที่มีไขมัน ออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการไปตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ90.9 – 98.30 ผลการศึกษานี้ผู้วิจัยนำข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลต่อไป

References

1. Mackay, J. & Mensah, G.A.,. The Atlas of Heart Disease and Stroke. Geneva: WHO.
2. National institutes of Health. (2004). National High Blood Pressure Educational Program: The seventh report of the Joint National Committee on prevention, detection, and treatment of high blood pressure; 2004.
3. World Health Organization. Global Health Rick. (WHO technical report series no. 533), Geneva, WHO; 2004.
4. Rosamond W, Flegal K, Furie K, Go A, Greenlund K, Haase N, et al. Heart disease and stroke statistics-2008 update: a report from the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation. 2008 Jan 29; 117 (4): 25-46.
5. วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟิคแอนด์ดีไซน์; 2557.
6. Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11; [25 Apirl 2019]
7. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
8. การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: บริษัท อาร์ต ควอลิไิท์ จำกัด; 2557.
9. โรงพยาบาลสุทธาเวช. รายงานสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2560. มหาสารคาม: โรงพยาบาลสุทธาเวช; 2560.
10. Al-Shafaee MA, Ganguly SS, Al Asmi AR. Perception of stroke and knowledge of potential risk factors among Omani patients at increased risk for stroke. BMC Neurol. 2006; Oct 20;6:38.
11. Sug Yoon, S., Heller, R. F., Levi, C., Wiggers, J., & Fitzgerald, P. E. Knowledge of Stroke Risk Factors, Warning Symptoms, and Treatment among an Australian Urban Population. Stroke, 2011; 32 (8), 1926–1930. https://doi.org/10.1161/01.str.32.8.1926

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15