การประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ปิยะมาพร เลาหตีรานนท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ตั้งครรภ์วัยรุ่น, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมมาเป็นแนวทางการจัดโปรแกรมการให้บริการที่แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลนิคมคำสร้อย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สมุดบันทึกสุขภาพมารดาทารก โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม 2561 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจงตามเกณฑ์ เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน nonparametric (Wilcoxon Signed Rank Test) ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนการทดลองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังการทดลองคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี เพิ่มขึ้นทั้งรายด้านและภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และสามี จากการประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองที่ส่งผลให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติตามได้ รวมทั้งการติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลตนเอง ทำให้เกิดการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่เหมาะสม

References

1. อรทัย ทรงผาสุข. อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล อัตมโนทัศน์ และแรงสนับสนุนจากคู่สมรสต่อพัฒนกิจของการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นตอนปลาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2551.
2. เอกสารประกอบการประชุมมหกรรมสุขภาพชุมชน ครั้งที่ 2. การสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเยาวชน: การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. กรุงเทพฯ; 2555.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. รายงานผลงานประจำปี 2558. มุกดาหาร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร; 2558.
4. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. WHO ปลุกกระแส รณรงค์สุขภาพแม่และเด็ก วันอนามัยโลก 2548. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2555.
5. Orem, D.E. Nursing Concept of Practice. 4th ed. st. Louis: Mosby Year Book; 2001.
6. House, J.S. Work Stress and Social Support. London: Addison-Wesley; 1981.
7. ปารณี แข็งแรง. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
8. จินตนา ทอนฮามแก้ว. แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
9. พัชรินทร์ ช่างเจรจา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
10. ลักขณา สุวะจันทร์. ความต้องการการดูแล การรับรู้พฤติกรรมการดูแล และความพึงพอใจในพฤติกรรมการดูแลที่ได้รับจากพยาบาลของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15