การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย ในตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พรรณราย สุขมณี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การป้องกันโรค, โรคที่เกิดจากยุงลาย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย ในตัวแทนครัวเรือนตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 75 คนโดยให้โปรแกรมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีกิจกรรม 6 ครั้ง แก่กลุ่มทดลอง และรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย HI, CI และ BI การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติด้วยค่า t – test Independent และค่า Paired Samples t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 และพบว่ากลุ่มทดลองมีจำนวนลูกน้ำยุงลายลดลงจากก่อนการทดลองค่าเฉลี่ย HI เท่ากับ 3.99 ค่าเฉลี่ย CI เท่ากับ 0 และค่าเฉลี่ย BI เท่ากับ 4.26 โดยสรุป การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมอลำในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายทำให้กลุ่มทดลองมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายดีขึ้นและส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลงซึ่งเกิดจากการใช้สื่อหมอลำเป็นกุญแจเข้าถึงชุมชนได้ง่ายและตรงกับความชอบวิถีชีวิตของชุมชนทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างเจตคติที่ดีต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย ตลอดจนนำไปสู่การปฏิบัติตัวต่อการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายที่ถูกต้องและยั่งยืน

References

1. กรมควบคุมโรคติดต่อ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข; 2545.
2. กรมควบคุมโรคติดต่อ.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. กรุงเทพฯ: สำนักงานระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุข; 2559.
3. กองโรคติดต่อทั่วไปกรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมโรค ไข้เลือดออกโดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย. รายงานการวิจัย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข; 2533.
4. คณะกรรมการวิชาการด้านการรักษาพยาบาลโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ.แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาโรคไข้ซิกา. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
5. จำรัสลักษณ์ เจริญแสง. ผลของการสอนโดยใช้สื่อวีดีทัศน์หมอลำต่อแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กของผู้ดูแลเด็ก.ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551
6. ชำนาญ อภิวัฒนศร. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและยุงพาหะ. The Journal Of Toppical Medicine and Parasitology; 2555.
7. ชนินทร์ เจริญกุล. การมีส่วนร่วมของชุมชนในงานสาธารณสุขมูลฐานแนวคิดและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ: ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยอนามัยชุมชนคณะสาธารณสุขศาสตร์ขอนแก่น; 2545.
8. สำนักควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 506: กรุงเทพฯ; 2559
9. ธีระพงษ์ โสดาศรี. บทบาทของสำนักงานหมอลำในอำเภอเมืองขอนแก่น: วิทยาศาสตรมหาบัญฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2537.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15