กระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วรศิลป์ ผัดมาลา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การดูแลระยะยาว, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของพลังอำนาจชุมชน 2) สังเคราะห์กระบวนการ และ 3) ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา จากประชากรผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 138 คน แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และภาคีเครือข่าย และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบวัดความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) และแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (QOL) จากกลุ่มผู้สูงอายุ 2) การสังเคราะห์รูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม และ 3) การศึกษาผลการดำเนินงานโดยเปรียบก่อนและหลังดำเนินการ จากข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือ วิเคราะห์ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired samples t-test ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของพลังอำนาจชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงพบว่า มีการดำเนินการพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชน ครอบคลุม 4 มิติ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพ แต่ยังไม่มีรูปแบบการบูรณาการระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ผลการสังเคราะห์รูปแบบโดยใช้หลัก PDCA ซึ่งแบ่ง 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (PLAN) ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการดำเนินงานโดยชุมชน 2) ขั้นปฏิบัติการ (DO) ด้วยการสนับสนุนของภาคีเครือข่าย และการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน 3) ขั้นติดตามประเมินผล (CHECK) โดยการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  มีการสังเกตการณ์ดำเนินกิจกรรมของชุมชน และเยี่ยมเสริมพลังในชุมชน และ 4) ขั้นปรับปรุงโดยการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของแต่ละชุมชน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย และชุมชนต่าง ๆ สำหรับผลของการประเมินคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังดำเนินการพบว่ามีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.001) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งก่อนและหลังดำเนินการ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.002)  ข้อเสนอแนะ การดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเป็นการดูแลระยาวและต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอโดยทีมสุขภาพที่มีคุณภาพ ชุมชนต้องมีการรับรู้ในศักยภาพและความสามารถของตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยได้รับการเสริมแรงจากภาคีเครือข่าย

References

1. ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด 999; 2560.
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุข ประจำปี 2559; 2560.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. 2561. คลังข้อมูลด้านสุขภาพ HDC (ระบบออนไลน์). สืบค้นจากhttps://pyo.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated /format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561
4. เอกภูมิ เถาชารี. 2562. การบริหารองค์กรด้วยวงจรเดมมิ่ง สืบค้นจาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=319&section=17&issues=23 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
5. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2558. การประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน สืบค้นจาก http://healthcheckup.in.th/self-test/9 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
6. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุลและคณะ. 2540. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/test/whoqol/ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561
7. สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพ : บริษัท ดีเซมเบอรี่ จํากัด; 2561.
8. Gibson, C.H. A study of empowerment in mothers of chronically ill children. Doctoral dissertation, school of Arts and Sciences, Department of Nursing, Boston College; 1995.
9. มิ่งขวัญ คงเจริญ การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
10. วิภา เพ็งเสงี่ยม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้พลังอำนาจ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 2558 ปีที่ 8 ฉบับที่ 1.
11. เพ็ญศิริ สิริกุล. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2553: ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 กันยายน–ธันวาคม.
12. สุมิตรา วิชา และคณะ. การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 2561: ปีที่ 22 ฉบับที่ 43-44 : กรกฎาคม–ธันวาคม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15