การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความเครียดและแนวทางการจัดการความเครียด

ผู้แต่ง

  • ดมิสา เพชรทอง คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ดาราวดี รักวงค์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นูไรดา แสสาเหตุ คณะวิทยาการสุขภาพละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อาริสา พันธุสะ คณะวิทยาการสุขภาพละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพละการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ความเครียด, การจัดการความเครียด

บทคัดย่อ

จากความสำเร็จของนโยบายการคุมกำเนิดและความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้ประชาชนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น และทำให้อัตราส่วนของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบและกลไกการทำงานของร่างกายทำให้มีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งปัญหาความเครียดเป็นปัญหาที่สำคัญที่บุคคลรู้สึกกดดัน วุ่นวายใจ และวิตกกังวลจากสิ่งเร้าในชีวิตประจำวัน และเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่สภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความเครียดและแนวทางการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุ จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ความเครียดเป็นภาวการณ์ตอบสนองของร่างกายต่อสถานการณ์ที่บุคคลได้เผชิญ และพยายามจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ความเครียดจำแนกออกเป็น 4 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง สูง และรุนแรง โดยใช้แบบประเมินความเครียดสวนปรุง สำหรับแนวทางการจัดการความเครียดในผู้สูงอายุประกอบด้วย การออกกำลังกาย การทำสมาธิ ปฏิบัติตามหลักศาสนา และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง เป็นต้น ดังนั้น การเลือกแนวทางการจัดการความเครียดที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

1. บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. [ออนไลน์]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]. แหล่งข้อมูล: www.thaicentenarian.mahidol.ac.th/TECIC/index.php?option=com.task....
2. Moradi Z, Far Ajallah Nouri M, Mohammadi M, Esfandnia F, Taovsi P, Esfandnia A. Evaluation of stress factors among the elderly in the nursing homes for the elderly (Eram and Mother) in Kermanshah, in 2015. Journal of Medicine and Life 2015; 8 (Special Issue 3): 146-150
3. Serajil, M., Shojaeizadeh, D., Goldoost, F. Quality of life the elderly residing in Zahedan (South East of Iran). Iranian Rehabilitation Journal 2017; 15 (3): 215-220
4. กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์สังคมผู้สูงวัย. [ออนไลน์]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561]. แหล่งข้อมูล: HTTP://WWW.DOP.GO.TH/TH/KNOW/2/127?FBCLID=IWAR2GK8FHGEYLQZZRS
9MDUSA9IPXS2QY9GFWRWSU1CNSOXK_NJIPNTOQBRK
5. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์, เยาวลักษณ์ พนิตอังกรู, ตันติมา ด้วงโยธา, อุบุญรัตน์ ธุรีราช และปิยนุช กิมเสาว์. ความชุกของภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย2559; 61(4): 319-330
6. ปริทรรศ ศิลปกิจ และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบลูย์. ปัจจัยกำหนดสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
7. สุจิตรา อู่รัตนมณี และสุภาวดี เลิศสำร าญ. ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560; 31(2): 78-94.
8. สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชากานต์ ฝูงดี, ณัฐธิดา ยานะรมย์, ณัญนรี น้อยนาง, ณัฐมล อาไนย์, ตุลาภรณ์ บุญเชิญ, ทริกา จอดนอก, ทัตตยา สุริสาร และธัญญาเรศ พ่อยันต์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 21(42): 93-106.
9. สมสุข นิธิอุทัย, ประทีป จินงี่, และอรพินทร์ ชูชม. การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตของผู้สูงอายุ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 2560; 9(2): 72-92.
10. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมราช. การแบ่งระดับผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2561] แหล่งข้อมูล: http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/0501.html
11. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/index.aspx
12. จุฑารัตน์ แสงทอง. สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัย อย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ 2560; 38(1): 6-28.
13. ขวัญสุดา บุญเทศ และขนิษฐา นันทบุตร. ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560; 62(3): 257-270.
14. กันยา สุวรรณ. ความหมายของสุขภาพจิต [ออนไลน์]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.novabizz.com/NovaAce/Mental.htm
15. ณัฐิกา ราชบุตร, จุลจีรา จันทะมุงคุณ และจารุภา แซ่ฮ่อ. การศึกษาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันโรคซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรมในผู้สูงอายุ ตำบลดอนมนต์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มฉก.วิชาการ 2560; 20(40): 115-125.
16. Nageswaran, K., Ray, S. Perceived stress and depression among elderly people residing at old age home. International Journal of Recent Scientific Research. 2016; 7 (6): 11608-11611.
17. ลำเจียก กำธร และจิณัฐตา ศุภสร. การสร้างเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2560; 10(1): 55-62.
18. รวิพรรดิ พูลลาภ. ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของ ประชาชนในชุมชนน้ำจำและชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพาน อำเภอเมิงพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2560; 6(2): 72-85.
19. พนิตตา ศรีหาคลัง และศิริพันธุ์ สาสัตย์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการดูแลและการเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนผู้ดูแล ต่อความ-เครียดของผู้สูงอายุผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลตำรวจ 2559; 8(1): 1-10.
20. นงค์นุช แนะแก้ว. ความเครียด ความวิตกกังวล และการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ. เวชบันทึก ศิริราช 2560; 10(2): 103-108.
21. สรสัณห์ รังสิยานนท์, พิรียพัฒน์ กิจตรงศิริ, ปริญญา ไกรยวงษ์, อภิชญา ลำดวน, และกัลยรัตน์ อันทะชัย. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับการเกิดโรคลิ้นแผนที่ในนิสิตทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ 2560; 10(20): 42-52.
22. โสภา ตั้งทีฆกูล, วีณา จีระแพทย์ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมการจัดการกับการรับรู้เหตุการณ์เครียดในชีวิตแบบผสมผสานต่อสภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560; 31(1): 133-148.
23. กาญจนา บัวหอม, ศศิกานต์ กาละ และสุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. ผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560; 9(2): 38-51.
24. อาภรณ์ สิงห์ชาดา, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, และสมใจ นกดี. ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียดของผู้สูงอายุ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2559 ; 19(38): 49-60.
25. สมสุข นิธิอุทัย. การพัฒนารูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.
26. บุษรา เกษีสม. ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 5(2): 176-193.
27. วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาล ตำบลคลองหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04