การพัฒนามาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ยุทธชัย นาดอน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ลูกน้ำยุงลาย, การควบคุมโรค, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรการในการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามวงจร P-A-O-R กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วย แกนนำชุมชนและประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโด่ ตำบลนาโสกอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 723 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่าง เริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา จนถึงมีกิจกรรมแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 4 โครงการ ส่งผลให้เกิดมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น ได้แก่ “มาตรการ 7 วัน สำรวจ ใส่ ดูแล ปล่อย พ่น ธง ปรับ” โดย 7 วัน คือทำความสะอาดภาชนะเก็บกักน้ำทุก 7 วัน  สำรวจ คือออกสำรวจในหลังคาเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ ใส่ คือใส่ทรายอะเบททุกภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุก 3 เดือน ดูแล คือรักษาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้สะอาด ปล่อย คือ ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะเก็บกักน้ำ พ่น คือ พ่นสารเคมีกำจัดยุงภายในหมู่บ้าน ธง คือใช้ธงผ้าสีเขียว เหลือง แดง ตามเกณฑ์การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายของครัวเรือน และปรับ คือปรับภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย ภาชนะละ 5 บาท โดยครัวเรือนที่พบลูกน้ำยินดีให้ปรับ  สรุปผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติที่ดีขึ้นจากก่อนการพัฒนา มีการจัดการสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เช่น ห้องนอน ที่พักผ่อนในเวลากลางวัน แสงสว่างในบ้าน การจัดแขวนเสื้อผ้า การจัดเก็บสิ่งของในที่พัก การจัดการขยะและวัสดุที่ไม่ใช้และอาจเป็นที่ขังน้ำได้ ทำให้บริเวณบ้านไม่เป็นสถานที่เอื้อต่อการเกาะพักหรือเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการพัฒนามาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วมครั้งนี้คือ มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน การสร้างความรู้ความเข้าใจในโครงการและกิจกรรม การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการ เกิดการนำมาตรการไปใช้ในชุมชน

References

1. กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. Retrieved October 8, 2018, from https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/696
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. สรุปรายงานสถานการณ์การฟ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ปี 2561. มุกดาหาร. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร; 2561.
3. ศูนย์ระบาดวิทยา อำเภอเมืองมุกดาหาร. สรุปรายงานสถานการณ์การฟ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ปี 2561. มุกดาหาร. ศูนย์ระบาดวิทยา อำเภอเมืองมุกดาหาร; 2561.
4. Kemmis, S. andMcTaggart, R.The Action Research Reader. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1990.
5. กรรณิการ์ จิตรบรรเจิดกุล. ประสิทธิผลของโครงการเร่งรัดการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุมชน จากการประยุกต์รูปแบบแนวคิดการสร้างพลัง ทฤษฎี แบบแผน ความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อ ป้องกันโรคไข้เลือดออก. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6. 2558; 12(2): 118–126.
6. อารีย์ เชื้อสาวะถี. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพครอบครัว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
7. ยุพพงค์ นุยืนรัมย์, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ และจุฑาพร ทับเพชร. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่ง หนึ่งในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
8. นิรุจน์ อุทธา. ประสิทธิผลการใช้ข้อกำหนดทางสังคม เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. ขอนแก่น: โครงการบริการวิชาการและการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ ของประชาชนมหาวิทยาลัยขอนแก่นและหน่วยงานสาธารณสุขในเขต 6; 2557.
9. นภาภรณ์ อินทรสิทธิ์. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่บ้านบ่อคำ ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
10. มานิตย์ ไชยพะยวน. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04