การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะ การแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การแก้ปัญหาและการพัฒนา, นักสาธารณสุขชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชน จำนวน 21 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดสมรรถนะการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ทักษะสำคัญในงานสาธารณสุขชุมชน ได้แก่ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังและการควบคุมโรค ด้านบำบัดรักษาเบื้องต้น และ ด้านสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาสาธารณสุขในชุมชน ได้แก่ วิเคราะห์และประมวลปัญหาสาธารณสุข วินิจฉัยปัญหาสาธารณสุข วางแผนงานสาธารณสุข การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชุมชนและการประเมินผลการดำเนินงาน 3) คุณลักษณะเชิงวิชาการ ได้แก่ ด้านการวิจัยและการพัฒนานวตกรรมสุขภาพ ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ ระบบคิดการเชิงสุขภาพและการสื่อสารด้านสุขภาพ 4 ) การบริหารจัดการงานสาธารณสุขชุมชน ได้แก่ ภาวะผู้นำและการพัฒนาภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม สัมพันธภาพและเครือข่ายและการบริหารจัดการงานสาธารณสุข และ 5) ทักษะชีวิตนักสาธารณสุขชุมชน ได้แก่ การพัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพ การเป็นผู้นำด้านสุขภาพ วัฒนธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
References
2. สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ทริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2549.
3. พรชัย เจดามาน. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2562, จาก knation blog:http://www.oknation.net/blog/jedaman/2013/03/29/entry-1
4. McClelland, D. (1973). Testing for Competency Rather than for Intelligence. American Psychologist. 28 (1), pp. 1 - 14.
5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). บทสังเคราะห์ข้อเสนอบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 นนทบุรี. หจก. สหพัฒนไพศาล; 2557.
6. World Health Organization. Everybody business: strengthening health systems to improve health outcomes. WHO’s framework; 2007.
7. Murphy, T. H., & Terry Jr, R. Adoption of CALL technologies in education; A national delphi. In Proceedings of the Forty-Fourth Annual Southern Agricultural Education Research Meeting 1998; 112-123.
8. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ;2543.
9. ราชกิจจานุเบกษา.ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2562; 2562: 23-25 เล่ม 136 ตอนพิเศษ 41 ง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562
10. ราชกิจจานุเบกษา.พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556; 2556 :หน้า 19-20 เล่ม 130 ตอนที่ 118 ก วันที่ 16 ธันวาคม 2556
11. นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์ และ สุปราณี จ้อยรอด. ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรทางสาธารณสุขต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในวารสารราชนครินทร์ มกราคม-มิถุนายน 2560: หน้า 63-71.
12. กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.; 2554.
13. ธีรศักดิ์ พาจันทร์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.วารสารทันตาภิบาล ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2560; 2560 : หน้าที่ 49-59.
14. สุคนทิพย์ รุ่งเรือง ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และสุธี อยู่สถาพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4 ใน วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559); 2559:15-29.