ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทิพวัลย์ พรมมร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สมโภช รติโอฬาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธีระวุธ ธรรมกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก, การปฏิบัติ, พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกระดับความรู้ ระดับทัศนคติระดับการปฏิบัติ และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ  เลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ จำนวน 220 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น ด้านความรู้  เท่ากับ 0.82 ด้านทัศนคติ และด้านการปฏิบัติ มีค่าแอลฟ่าเท่ากับ 0.84 และ 0.89 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.5 มีความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อยู่ในระดับปานกลาง  มีทัศนคติเกี่ยวกับ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อยู่ในระดับดี มีการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อยู่ในระดับปานกลาง และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ได้แก่ ความรู้ด้านเนื้อหาตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ (p=.002) ทัศนคติเกี่ยวกับ พรบ.ควบคุมผิลตภัณฑ์ยาสูบ  ด้านผู้ประกอบการ (p=.043) และเพศหญิง (p=.040) โดยสามารถร่วมกันอธิบายการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกได้ร้อยละ  38.7

References

1. World Health Organisation. WHO Report on the global tobacco epidemic, 2008: Warning about the dangers of tobacco. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2008.
2. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์,ประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง และกุมภการ สมมติ. สรุปสถานการณ์การควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2557. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ :เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2557.
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2559.
4. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, ปานทิพย์ โชติเบจมาภรณ์และคณะ. สรุปสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อ ควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ :เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2559.
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2560.
6. จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนชนบทด้วยชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก; 2557.
7. จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ ,ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน,อาทิตยา วังวนสินธุ์, และบุญชณัฎฐา พงษ์ปรีชา.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558; 12(1): 56-70.
8. Shahab L and West R. Public support in England for a total ban on the sale of tobaccoproducts. Tobacco Control 2010; 19: 143–7.
9. Li Q, Hyland A, O’Connor R, Zhao G, Du L, Li X, Fong GT. Support for smoke-free policies among smokers and non-smokers in six cities in China: ITC China survey. TobaccoControl 2010; Volume 19: i40-6.
10. จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ,ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์. พฤติกรรมการจำหน่ายบุหรี่ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557.; 6(2): 101-106.
11. จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์,ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, อรวรรณ กีรติสิโรจน์และอาทิตยา วังวนสินธ์. ทัศนคติของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตบริการสุขภาพที่ 2 ที่มีต่อเนื้อหาผลกระทบและพฤติกรรมการตอบสนองต่อร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 10(3): 321-330.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04