ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ ศุกรนันทน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การสูบบุหรี่, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สูบบุหรี่ จำนวนทั้งสิ้น 63 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)  ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 98.1 อายุเฉลี่ย 44.10 ปี อายุอยู่ในช่วง 39–48 ปี ร้อยละ 54.0 สถานภาพสมรส ร้อยละ 63.5 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 36.5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 7088.9 บาท รายได้อยู่ในช่วง 6,501–8,000 บาท ร้อยละ 77.8 รายได้มาจากอาชีพหลักอย่างเดียว ร้อยละ 85.7 มีรายได้ไม่เพียงพอและต้องกู้ยืม ร้อยละ 73.0 และ 54.0 ตามลำดับ มีบุตร ร้อยละ 66.7 และมีบุตรที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 39.7 ปฏิบัติงานมา 10 ปีมากที่สุด  ร้อยละ 20.6  สูบบุหรี่เฉลี่ย 9.16 มวนต่อวัน ส่วนใหญ่สูบบุหรี่ระหว่าง 1- 10 มวนต่อวัน ร้อยละ 76.2  ความต้องการเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 57.1 เพราะมีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 31.7 คิดว่าเขตสูบบุหรี่ไม่มีความเหมาะสม ร้อยละ 50.8  เพราะไม่มีการกำหนดเขตสูบบุหรี่ที่ชัดเจน ร้อยละ 28.6  เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ ร้อยละ 49.2 ปัจจัยนำด้านความรู้และทัศนคติ โดยมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 49.2 มีทัศนคติระดับปานกลาง ร้อยละ 54.0 ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.3 ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ 79.4 พฤติกรรมการสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 87.3 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ  ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมในการสูบบุหรี่กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ปัจจัยด้านต่าง ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่  โดยสรุปผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องสารอันตรายในบุหรี่ที่ก่อให้เกิดโรค เข้าใจว่าก้นกรองบุหรี่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ได้ และกฎมายเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบและการสูบบุหรี่ นอกจากนั้นบุหรี่ยังสามารถซื้อขายได้สะดวก รวมทั้งการโฆษณาบุหรี่ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์เป็นผลให้คนตัดสินใจสูบบุหรี่  จึงควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบและการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง และกำหนดเขตปลอดบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อให้มีพฤติกรรมในการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในที่สุด

References

1. โทษของบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพและคนรอบข้าง
[10 กันยายน 2560]. Available from: URL :https://med.mahidol.ac.th/ ramachannel/home
/article/%e0%b9%82%
2. ประกิต วาทีสาธกกิจ สถิติและความสูญเสียจากการสูบบุหรี่ในประเทศไทย 17 พฤษภาคม 2560
3. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุข การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่สำหรับวัยทำงาน 2558.
4. จุลสารกองกิจการนิสิต. มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ประกาศเป็นมหาวิทยาลัยปลอด
บุหรี่ 100% ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือน
กรกฎาคม 2557.
5. กองอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. รายงานจำนวนเจ้าหน้าที่รักษา
ความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
2560.
6. ขวัญใจ ศุกรนันทน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติ
ในการบริบาลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและ
ความดันโลหิตสูงในเขตเมือง. วารสาร
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม; 2555.
7. ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. การใช้ SPSS เพื่อการ
วิเคราะห์ข้อมูล.ภาควิชาการประเมินผลและ
วิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ;
2548.
8. โสพิน เศาภายน, พันโทหญิง. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนายทหารชั้นประทวน สังกัดศูนย์
รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหาสูงสุด
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สาขาวิชาพัฒนาสังคม โครงการสหวิทยาระดับ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2551.
9. โทษของบุหรี่มีผลต่อสุขภาพและคนรอบข้าง.
[10 กันยายน 2560]. Available from : URL :
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
หาวิทยาลัยมหิดล)
10. งานวิจัยยืนยัน 'สูบบุหรี่' แค่วันละมวนก็ทำให้
อายุสั้นลงได้ [10 พฤษภาคม 2560].
Available from : URL :
https://www.voathai.com/a/smoking-
harm/3628314.html.
11. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง. ประกาศกำหนดราคาขายบุหรี่ซิกาแรต ฉบับที่ 3/2560 ลงวันที่ 18 กันยายน 2560.
12. พนักงานไม่สูบบุหรี่ลดปัญหาในสำนักงาน [10 พฤษภาคม 2560]. Available from: URL: http://www.smokefreezone.or.th/ campaign_ page/52/%E0%B8%9E%E0 %B8%99%)
13. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ทัศนคติและการวัดการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช; 2534
14. จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎี และการ
ประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.
ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 3; 2554.
15. มณฑิรา เกตุแก้ว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคลากรชายใน
โรงพยาบาลรามาธิบดี วิทยานิพนธ์ศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.
16. อุษา ฤทธิธาดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของทหารเกณฑ์กองประจำการ : กรณีศึกษาร้อยพลเสนารักษ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04