ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยระดับองค์กรกับพฤติกรรม สร้างเสริมสุขภาพของกำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
คำสำคัญ:
ปัจจัยระดับบุคคล, ปัจจัยระดับองค์กร, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, กำลังพลสำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (2) ปัจจัยระดับบุคคลและปัจจัยระดับองค์กร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับบุคคล และปัจจัยระดับองค์กรกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประชากรที่ศึกษาคือ กำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี 2562 จำนวน 4,425 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน โดยวิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.70-0.85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (2) ปัจจัยระดับบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 39.45 ปี ส่วนใหญ่มีชั้นยศระดับนายทหารสัญญาบัตร มีสุขภาพแข็งแรงดี มากที่สุด ด้านความเชื่อมั่นในความสามารถของตนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยระดับองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยระดับบุคคล ด้านความเชื่อมั่นในความสามารถของตน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม ที่ระดับ 0.001 ส่วนปัจจัยระดับองค์กร ด้านนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมที่ระดับ 0.05 และ 0.001 ตามลำดับ
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน: 2560.
นิตยา เพ็ญศิรินภา. แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. ในเอกสารสอนชุดวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช; 2561.
อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินทร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ.
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา; 2554.
Yamane,T. Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row; 1970.
ทัชชา ภูเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกำลังพลสังกัดกองพันทหารราบที่ 4 กองทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555.
วิภาวี วรวิทย์วัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการทหารสังกัดจังหวัดทหารบกราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2556.
นฤมล หิรัญวัฒนะ. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพนายทหารประทวน สังกัดกองบัญชาการกองทัพบก [ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
สุปราณี สรรพชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการทหารในกองพลทหารราบที่ 11 จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
มธุรส บุญแสน. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ; 2556.
สุวิภา อนุจรพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการทหารระดับชั้นสัญญาบัตรในศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
ซารูวา เจะแต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. Health promotion in nursing practice. (5nd ed.). New Jersey: Pearson Education; 2006.
เอกวิทย์ ปฏิสัมภิทากุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันราชานุกูล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.
World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. In First International Conference on Health Promotion, Ottawa. World Health Organization; 1986. Retrieved from https://www.who.int/teams/health-promotion/enhanced-wellbeing/first-global-conference cademic.oup.com/heapro/article/1/4/405/933881.
นนทชา วิมลวัฒนา, ทิพาพันธุ์ สังฆะพงษ์, และ รัตนา ปานเรียนแสน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 2560; 24(2).