ระดับความเข้มของแสงสว่างภายในอาคารเรียนและความปลอดภัยของสนามเด็กเล่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • โสมศิริ เดชารัตน์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง
  • ธนวรรณ บัวเจริญ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พิริยะลักษณ์ เพชรห้วยลึก คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง
  • ดุสิต พรหมอ่อน คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

ความเข้มของแสงสว่าง, ความปลอดภัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, จังหวัดพัทลุง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ทำการสุ่มและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง ในอำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหราและอำเภอควนขนุน จำนวน 33 แห่ง โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างครูผู้ดูแลเด็กเล็ก แกนนำผู้ปกครองและ บุคลากรที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน จำนวนทั้งหมด 132 คน ดำเนินการตรวจวัดระดับความเข้มแสง เก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจและแบบสอบถาม ช่วงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2562 - มีนาคม พ.ศ. 2563 ผลการวิจัย พบว่า 3 อันดับแรกที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง คือ ห้องน้ำ ห้องส้วม พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60.61 ทางเดิน ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 54.55 โต๊ะครู พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 42.59 ตามลำดับ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกร้อยละ 100 ไม่ได้รับได้รับการสนับสนุนช่างมาตรวจสอบสภาพการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น และ ร้อยละ 93.94 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่มีระบบการบันทึกการบาดเจ็บจากการเล่นในสนามเด็กเล่นและไม่มีแผนในการพัฒนาสนามเด็กเล่นพบว่า ร้อยละ 57.58 ไม่มีรั้วล้อมรอบสนามเด็กเล่นเพื่อแบ่งสนามเด็กเล่นกับพื้นที่ส่วนอื่นเครื่องเล่นเก่า มีการชำรุด ผุพัง เป็นสนิม และระดับความสูงไม่เหมาะสมกับความสูงของเด็กเล็ก ดังนั้น การส่งเสริมงานด้านความปลอดภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

References

พรพิมล กองทิพย์. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ: คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

Al-Hajj, S., Nehme, R., Hatoum, F., Zheng, A., Pike, I. Child school injury in Lebanon: A study to assess injury incidence, severity and risk factors. PloS one 2020; 15(6): e0233465. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0233465.

Tuckel, P., Milczarski, W., & Silverman, D. G. Injuries Caused by Falls From Playground Equipment in the United States. Clinical pediatrics 2018; 57(5): 563–573.

Uskun, E., Kişioğlu, A. N., Altay, T., Cikinlar, R., Kocakaya, A. Assessment of the current status of playground safety in the midwestern region of Turkey: an effort to provide a safe environment for children. The Turkish journal of pediatrics 2018; 50(6): 559–565.

Howard, A. W., MacArthur, C., Willan, A., Rothman, L., Moses- McKeag, A., MacPherson, A. K. The effect of safer play equipment on playground injury rates among school children. Canadian Medical Association journal 2005; 172(11): 1443–1446.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ; 2559.

ปัทมพร กิตติก้อง, พรพรรณ สกุลคู, ศราวุฒิ ขวัญชารี, กันณพงศ์ อัครไชยพงศ์. การศึกษาระดับความเข้มแสงสว่างในห้องเรียน และลักษณะทางกายภาพ ของห้องที่มีผลต่อความรู้สึกเมื่อยล้าทางสายตาของนักเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(3):10 – 18.

ธัชชัย สุขยัง และจักรพันธ์ คงนคร. การศึกษาความเข้มของแสงสว่างในห้องปฏิบัติงานที่แตกต่างกันของสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ใน: อภิรักษ์ สงรักษ์, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10; 1 – 3 สิงหาคม 2561; โรงแรมเรือรัษฎา. ตรัง ; 2561.หน้า 736 – 746.

ชัญญากานต์ โกกะพันธ์, นิพาวรรณ์ แสงพรม, กิตติยา ฝ้ายเจริญ, คนธนันท์ อุตชุมพิสัย, ณฤดี พูลเกษม, นิชาภา เหมือนภาค, ยศภัทร ยศสูงเนิน. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเข้มแสงสว่างในโรงผลิตเครื่องปั้นดินเผากรณีศึกษา โรงผลิตเครื่องปั้นดินเผา เขตเทศบาล ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”; 30 มีนาคม 2562; ณ วิทยาลัยนครราชสีมา; 2562. หน้า 1078 – 1086.

ศิริจรรยา เชื้อปิงและสมชาย บุญศิริเภสัช. การจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง. ในการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15; 23 กรกฎาคม 2558; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์: สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค; 2558. หน้า 1379 – 1388.

Neuman,W.L. Social Research Methods : Qualitative and Quantitative Approaches. Boston : Allyn and Bacon,1991.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 57 ง. (ลงวันที่ 12 มีนาคม 2561).

กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก.พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2556.

สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย.คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร. ม.ป.ท.: 2563.

จิราภรณ์ หลาบคำ ลักษณีย์ บุญขาว นิตยา ชาคำรุณ สมเจตน์ ทองดำ จีราพร ทิพย์พิลา และจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา. รูปแบบการพัฒนาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 2558; 7 (4): 54-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-22