การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วย Stroke Fast Track ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
การคัดแยกผู้ป่วยช่องทางด่วน, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วย และ เพื่อศึกษาผลการใช้ ระบบคัดแยกในผู้ป่วยช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track) ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจง 2 กลุ่ม ประกอบ ด้วย 1) กลุ่มผู้ใช้บริการ คือ ผู้ป่วย Stroke Fast Track จำนวน 46 คน 2) กลุ่มผู้ให้บริการ คือกลุ่มผู้ให้บริการ 12 คน คือ พยาบาลวิชาชีพ 6 คนและเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ก่อนและหลัง ใช้สถิติ paired T-test การเข้าถึงและความถูกต้อง เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Chi square ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึงระบบ Stroke Fast Track ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนดำเนินการ ร้อยละ 29.03 หลังดำเนินการ ร้อยละ 86.96 ซึ่งเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ ความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย Stroke Fast Track ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 22.58 หลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 82.60 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยา recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) ก่อนดำเนินการมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.45 หลังดำเนินการมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.70 ผลจากการพัฒนาคือการคัดแยกผู้ป่วย Stroke Fast Track ถูกต้องส่งผลลัพธ์ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยา rt-PA เพิ่มมากขึ้น
References
กรมควบคุมโรคสำนักโรคไม่ติดต่อ. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020 (วันที่สืบค้นข้อมูล: 1ตุลาคม 2560)
โรงพยาบาลยโสธร. สรุปข้อมูลประจำปี (รายงานประจำปี). 2560
Benner P. From novice to expert : excellence and power in clinical nursing Practice. Menlo Park, California: Addison-Wesley Pub; 1984.
Proctor, B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision: 25–46. London : Routledge, 2001.
Donabedian, A. An introduction to quality assurance in health care. New York, NY: Oxford University; 2003
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.เกณฑ์การคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินตามเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด.นนทบุรี, 2556.
นิรัตน์ อิมานี. “เครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล” ใน ประมวลสาระชุดวิชาวิจัยทางการพยาบาล สารสนเทศและสถิติ หน่วยที่ 4 หน้า 1-66 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, 2549
กฤษณา สังขมุณีจินดาและคณะ. การพัฒนาเครื่องมือและแนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ สําหรับอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี “โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ”, 2560.
อรุณวรรณ อุดมเกษมทรัพย์ และคณะ. ผลของการจัดโปรแกรมการสอนทักษะปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วารสารการพยาบาลและการศึกษาปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2558.
นุชจรีย์ ชุมพินิจ และสุทธีพร มูลศาสตร์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารพยาบาลตำรวจ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558.
อุไร คำมากและ ศิริอร สินธุ. ระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดต่อการฟื้นตัวด้านระบบประสาท ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลทหารบก. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2558.
ธงชัย อามาตยบัณฑิต และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤตในจังหวัดอุบลราชธานี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี “โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ”, 2559.