การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นวพร ทุมแถว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการดูแล, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 50 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน  10 คน เก็บข้อมูเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดย แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร คู่สมรสเป็นผู้ดูแล มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย และผู้ดูแลไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ พบว่า อายุ ระดับน้ำตาลในเลือด และความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการดำเนินงานจากการพัฒนาระบบดูแล พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ทั้งให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้ามาร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาจนได้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

References

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานในประเทศไทย ประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561.

กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561.

แผนยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ. กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ปีพ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564.

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ. โรงพยาบาลบุณฑริก. รายงานอุบัติการณ์เกิดโรคเบาหวานในเขตอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี; 2561

กลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.คูมือหรือแนวทางการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ภาครัฐในระดับกระทรวงที่เป็นระดับนโยบาย. กรุงเทพมหานคร; 2551

Berg, Bruce L. Qualitative Research Methods for The Social Sciences6th ed. U.S.A ; Pearson Edu cation 2007; 2007.

Kemmis, S., & McTaggart, R. The action research reader. Geelong. Victoria: Deakin University Press: John Wiley & Son; 1988.

ศิริชัย กาญจนวาสี. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

วิไลวรรณ เทียมประชา. การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแก่ผู้ป่วยเบาหวานโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

ยุทธกร ชมวงษ์. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์; 2555.

พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลรามาธิบดี; 2553; 16:15.

อรุณี ผุยปุ่ย. การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมพยาบาล. การพยาบาลและการศึกษา 2556; 31:87-93.

นันทพร บุษราคัมวดี, ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก. การพยาบาลและการศึกษา 2555; 5:114-129.

วงเดือน ฦาชา, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, กาญจนาเปสี, พนิตนาฏ รักษ์มณี. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. กองการพยาบาล 2554; 38:31-41

กรรณิการ์ คลื่นแก้ว. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิก โรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครศรีธรรมราช; 2557, 17:22-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12