ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมการจัดการขยะอันตรายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการจัดการขยะ, ขยะอันตราย, นักเรียนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การรับรู้ ความสามารถและพฤติกรรมในการจัดการขยะอันตรายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดอุบลราชธานีและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้ และความสามารถในการจัดการขยะอันตรายกับพฤติกรรมการจัดการขยะอันตรายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 353 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Chi- Square หาความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ในการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 54.40 การรับรู้ในการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.3 ความสามารถในการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับดี ร้อยละ 50.4 และพฤติกรรมในการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.4 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยในด้านความรู้ การรับรู้ และความสามารถในการจัดการขยะอันตรายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะอันตราย เพื่อให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมการจัดการขยะอันตรายได้เหมาะสมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการการจัดการขยะอันตรายให้ครอบคลุม เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากขยะอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
References
กัญญาภัทร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ การรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพและความสอดคล้องในตนด้านเป้าหมายการเลือกเส้นทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ:คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2557
กรมควบคุมมลพิษ. สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี2561 [อินเทอร์เน็ต].2561.เข้าถึงได้จาก:
http://www.pcd.go.th/public/Publications/print_report.cfm?task=pcdreport2561
.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.ขยะอันตราย จำกัดวงพิษภัยตั้งแต่ในครัวเรือน[อินเทอร์เน็ต].2561.เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/social/general/570311?fbclid=IwAR3aZPLiGcxNES0v0Azv6KfNyVsfC8vKLJvWx-nZrp1uJwxYFDVH8U3g3nY
ขวัญจิตต์ จัทน์นาหว่า.พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองลำภู.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2557;2:263-271.
ทักษิกา ชัชวรัตน์.การรับรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา.2561;19:168-179
นิรมล อินทฤทธิ์, 2505- . พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
ปนัดดา รุจะศิริ.พฤติกรรมการจัดการขยะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนานาชาติเทร็ลล์[วิทยานิพนธ์].กรุงเทพมหานคร:คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์;2554.
วัฒนณรงค์ มากพันธ์และคณะ.ความรู้ ความเข้าใจและพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ.2561;21:79-87.
สหประชาชาติกรมเศรษฐกิจและสังคม กองประชากร. thailand population [อินเทอร์เน็ต].2562.เข้าถึงได้จาก: https://mahidol.ac.th/th/2019/ipsr-ecosoc/
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.ขยะพิษไทย โรงงานกำจัดดีน้อย กำจัดเถื่อนล้น[อินเทอร์เน็ต]..2561.เขาถึงไดจาก :https://tdri.or.th/2018/08/
เอ็ม บี เค กรุ๊ป.ลดโรคร้อน เริ่มต้นที่บ้านด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมผลิตขยะเวิร์คช็อป"ขยะถอดรูป" เปลี่ยนแผงไข่เป็นถังขยะน่ารัก[อินเทอร์เน็ต]. 2560.
[เข้าถึงเมื่อวันที่7 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.brandbuffet.in.th/2017/06/mbk-workshop-transform-to-use/
สุวรี ศิวะเเพทย์.จิตวิทยาทั่วไป.1.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์;2549.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร.การสื่อสารกับสังคม.1.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2533.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี.การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของจังหวัดอุบลราชธานี.[อินเทอร์เน็ต].2561.เข้าถึงได้จาก: http://www.mnre.go.th/ubonratchathani/th/news/detail/23859