ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม

ผู้แต่ง

  • รักสกุลชัย ทองจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ธนากร ธนวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคข้อเข่าเสื่อม, ความเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย (Predictive research) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่า และสมการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการปวดข้อเข่าแต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 240 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบทวิภาคกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value <0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีน้ำหนักเฉลี่ย 56.4 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 156 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 22.8 พฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดข้อเข่าส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน การนวดประคบสมุนไพร และควบคุมน้ำหนัก ตามลำดับ และมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ( = 29.64, SD = 3.20) คะแนนความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าอยู่ในระดับปานกลาง ( = 24.25, SD = 0.74) สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่า น้ำหนัก (β = -0.160, p-value =0.014) สามารถทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่ ได้ร้อยละ 22.5 สรุปผลการวิจัยพบว่า น้ำหนักเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการควบคุมน้ำหนักของผู้สูงอายุ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผลไม้ที่มีรสหวานจัด ตลอดจนการออกกำลังกายทำให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

References

วันทนียา วัชรีอุดมกาล, อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา, และอารี ตนวาลี. ความสามารถในการทำงานของข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2557; 24(1), 20-27

Blagojevic M., Jinks C., Jeffery A., and Jordan K. P. Risk factors for onset of osteoarthritis of the knee in older adults: a systematic review and meta-analysis. Osteoarthritis Research Society International. 2557; 18(1):24-33

ภีรฉัตร โตศิริพัฒนา. ปวดเข่า. [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2561]; เข้าถึงได้จากhttp://www.somdej.or.th/index.php/2016-01-18-04-21-18, 2558

นัฐวุฒิ วิวรรธนวรางค์. ต้นทุนโดยตรงของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร. 2554; 3(2):61-67

Pereira D. The effects of osteoarthritis definnition on prevalence and incidence estimates: a systematic review. Osteoarthritis and Cartilage. 2011; (19): 1270-1285

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สปสช.ออกแนวปฏิบัติผ่าข้อเข่าเสื่อม กระจายอำนาจให้เขตช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2561]; เข้าถึงได้จากhttps://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjA0OQ==, 2561

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society). 2558. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2561]; เข้าถึงได้จาก https://fopdev.or.th

บุญเรียง พิสมัย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี, และสุภาพ อารีเอื้อ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2555; 42(2): 54-67

Hurley M. V., Walsh N., Bhavnani V., Britten N., and Stevenson F. Health beliefs before and after participation on an exercised-based rehabilitation programme for chronic knee pain: Doing is believing. BMC Musculoskeletal Disorders. 2010; 11:31

Kuptniratsaikul V., and Rattanachaiyanont M. Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. Clin Rheumatol. 2007; 26(10): 1641-1645

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ยิ่งอ้วนยิ่งเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม. 2558. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content, 2558

ยุวดี สารบูรณ์, สุภาพ อารีเอื้อ, และสุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. อาการโรคข้อเข่าเสื่อม ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม และการรับรู้ความเจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน: การศึกษานำร่อง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2557; 30(2): 12-24

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง และผุสดี สระทอง. การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33(2): 197-210

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-22