การปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิภาดา คงทรง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

กระบวนการปรับปรุงสภาพงาน, การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์, การยศาสตร์

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired T-Test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บริบทการทำงานมีลักษณะงานสำนักงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ มีแนวโน้มของอันตรายจากความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ก่อนการวิจัยพบว่า ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานสำนักงาน (Rapid Office Strain Assessment :ROSA) ร้อยละ 50.00 มีความเสี่ยงสูง ความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 2.57 อยู่ในระดับน้อย การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 2.24 อยู่ในระดับปานกลาง จากการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติการ ผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสภาพการทำงานร่วมกัน พบว่าต้องปรับปรุงสภาพงานด้านสิ่งแวดล้อมการทำงาน ท่าทางการทำงาน สถานีงาน     การบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ ผู้ร่วมวิจัยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและจัดกิจกรรมการปรับปรุงสภาพงาน ได้แก่ 1) กิจกรรมอบรมให้ความ 2) กิจกรรมการปรับปรุงสภาพงานและฝึกปฏิบัติท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง 3) การออกกำลังกายและกายบริหารสำหรับคนทำงาน 4) คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน เมื่อดำเนินตามแผนปฏิบัติการแล้วพบว่า ความเสี่ยง ROSA ลดลงอยู่ในระดับต่ำ ความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์เพิ่มขึ้นเป็น 4.42 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในสภาพงานก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นเป็น 2.58 ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จากการประชุมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แนวทางในการปรับปรุงสภาพงานโดยการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ 1) มีการนำข้อมูลการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์มาเป็นข้อมูลประกอบในการค้นหาปัญหา 2) มีแผนงานกิจกรรมที่เกิดจากผู้ร่วมวิจัยร่วม วิเคราะห์สาเหตุ หาแนวทางแก้ไข ร่วมตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา 3) การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพงานตามแผน ซึ่งมีการสื่อสารที่มีศักยภาพ และความสัมพันธ์ที่ดี 4) มีแนวทางปฏิบัติตามคู่มือที่ชัดเจน และ5) มีการติดตามการดำเนินงาน สรุปผล และถอดบทเรียนการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ สรุปผลการวิจัย การปรับปรุงสภาพงานโดยการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ทำให้ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในการทำงานสำนักงานลดลง ความพึงพอใจในสภาพงานด้านการยศาสตร์เพิ่มขึ้นและระดับการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์เพิ่มขึ้น

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจภาวะการทำงานของไทย ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2561.

ศรินรัตน์ โคตะพันธ และ ศุภมาศ จารุจรณ. โรคออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2560, 12(2), 135-142.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. แผนพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุขของจังหวัดมหาสารคาม ปี 2562 - 2564 ตัวชี้วัดคำรับรองปฏิบัติราชการระดับอำเภอ ปี 2562. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 2562.

Janwantanakul P, Pensri P, & Jiamjarasrangsri V, S. T. Prevalence of self-reported musculoskeletal symptoms among office workers. Occupational Medicine; 2018, 58(6), 436–438.

สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย. การประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย; 2558.

Kemmis, S. & Mc Taggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Deakin University Press; 1998.

วรวรรณ ภูชาดา และสุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของการปวดและระดับความรู้สึกไมสบายบริเวณคอ ไหลและหลังในพนักงานศูนยบริการขอมูล จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร; 2559, 31(5), 369-376.

เมธินี ครุสันธิ์ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงาน สำนักงานมหาวิทยาลัย. KKU Res. J.; 2557, 19(5), 696-707.

อมร โฆษิดาพันธุ์, อริสา สำรอง, และนาวาอากาศเอก สุทธิ์ ศรีบูรพา. ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และอาการปวดที่ส่งผลต่อความบกพร่องของรยางค์แขนของพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน. การประชุมวิชาการทางการยศาสตร์แห่งชาติ,วันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2559, 1-15.

รัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม. การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณหลังส่วนล่างในพนักงานแผนกลอกยางของโรงงานยางพาราแผ่นรมควันแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และกลางเดือน โพชนา. การประเมินความเสี่ยทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA). Journal of Public Health; 2558, 45(2), 148-158.

พันธุ์เทพ นกแก้ว และนิศานาถ พัสดุสาร.หลักการประเมินด้านการยศาสตร์ (Ergonomics assessment). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://thai-ergonomic-assessment.blogspot.com/2014/07/.

ตวงพร นุตบุญเลิศ, พรรัตน์, แสดงหา และอภิญญา อิงอาจ. การใช้การยศาสตร์ในการปฏิบัติงานของพนักงาน ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในภาคตะวันออก. สุทธิปริทัศน์; 2560, 31(100), 13-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15