ผลการบริการวิชาการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • อำพล บุญเพียร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • วัชรพล พุฒิแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดราษฎร์นิยม
  • ไพลิน หมาดบำรุง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดราษฎร์นิยม
  • ปฐมา จันทรพล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • นราพร พิทักษ์พร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ศราวุฒิ แพะขุนทด วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ธนภรณ์ ทีเหล็ก วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ฉัตรดนัย อุประวรรณา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

ผลการบริการวิชาการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดราษฎร์นิยม, วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

บทคัดย่อ

 สถานการณ์และปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของประชาชนในชุมชนราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี มีแนวโน้มที่จะเพิ่มและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ในฐานะสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชนจึงได้ดำเนินการให้บริการวิชาการแก่ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแล การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการบริการวิชาการผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดเตียง 16 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 18 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามผลการดำเนินโครงการ แบบประเมินคัดกรองปัญหาสุขภาพ ADL และแบบทดสอบดัชนีวัดสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติการทดสอบที (Pair t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีความคิดเห็นต่อโครงการภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.72 (SD=0.13) โดยด้านผลผลิตมีคะแนนสูงที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.80 (SD=0.06) 2. ผู้ป่วยติดเตียงมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ADL หลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 3. ผู้ป่วยติดเตียงมีความสุขหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ดังนั้นรูปแบบการบริการวิชาการนี้สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพและเพิ่มความสุขของผู้ป่วยติดเตียงได้ จึงสามารถเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและเพิ่มความสุขให้กับผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนอื่น ๆ

References

วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. รายงานผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2561. นนทบุรี: งานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก, 2562.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพ. แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.; 2560.

อำพล บุญเพียร, ปฐมา จันทรพล และอริศรา ธนานุศักดิ์. การศึกษาสถานการณ์และความต้องการด้านสุขภาพ ของประชาชนในชุมชนราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก, 2562.

Stufflebeam, D. L., Madam, C. F., & Kellaghan, T. (eds.). The CIPP model for evaluation in Evaluation model. Boston, MA: Kluwer Academic, 2000.

อำพล บุญเพียร, สายฝน ตันตะโยธิน, วันเพ็ญ ยอดคง, วรินทร เชิดชูธีรกุล และยุทธนา ตันตะโยธิน. “การประเมินผลโครงการการฟื้นฟูสภาพและสร้างเสริมสมรรถนะผู้ป่วยเรื้อรังที่สูงอายุโดยเครือข่ายเด็กและเยาวชน ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี” วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 4(2): 27-37; เมษายน-มิถุนายน, 2561.

ประสพชัย พสุนนท์. “ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18: 375-396; มกราคม-ธันวาคม, 2558.

ปราณี มีหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. “การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล” วารสารพยาบาลทหารบก. 19(1): 9-15; มกราคม-มีนาคม, 2561.

นงนุช โอบะ. “สมรรรถนะภาพทางสมองและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในชนบทไทย”วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 9(1): 17-31; มกราคม-มีนาคม, 2558.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย และวรวรรณ จุฑา. การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

ธิดารัตน์ กันทาแจ่ม. ศึกษาความต้องการและโอกาสการเข้าถึงการบริการด้วยการแพทย์แผนไทยเขตบริการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2558.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง และ COPD) [Internet]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 7]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid

=32&gid=1-020

สกาวเดือน นำแสงกุล และวิชัย เอกพลากร. “ผู้ป่วยยากจนติดบ้านติดเตียง และบทบาทของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา” วารสารวิชาการสาธารณสุข. 26(1): 94-104; มกราคม-มีนาคม, 2560.

ผุสดี ก่อเจดีย์, ชนัญชิดา วงษ์ท้าว และปภัชณา เมืองไทยชัช. “ผลของการนวดแผนไทยต่อความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ความวิตกกังวลและซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(2): 106-114; เมษายน-มิถุนายน, 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12