พฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • แก้วใจ มาลีลัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พิมพ์ชนก ศรีสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • รุจิรา พุทธคุณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสะอาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
  • วริศรา โรจนาวรรณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ศุภชัย ยาณะเรือง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกัน, โรคเหงือกอักเสบ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ 2) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบจำเพาะเจาะจงคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีการศึกษา 2561  จำนวน  197 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบวัดความรู้  ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.7 และ 1.0 ตามลำดับ แบบสอบถามพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคเหงือกอักเสบหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธี Cronbachs Alpha มีค่าเท่ากับ 0.7 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ KR 20 มีค่าเท่ากับ 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบระดับปานกลางร้อยละ 69.5 พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติเป็นประจำคือแปรงฟันหลังจากตื่นนอนตอนเช้าร้อยละ 86.3 พฤติกรรมที่ไม่เคยปฏิบัติเลยคือใช้ไหมขัดฟันหลังแปรงฟันร้อยละ 60.9 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเหงือกอักเสบระดับมากร้อยละ 54.8 ความรู้ที่กลุ่มตัวอย่างตอบถูกมากที่สุดคือโรคเหงือกอักเสบทำให้มีเลือดออกเวลาแปรงฟันร้อยละ 92.4 ความรู้ที่กลุ่มตัวอย่างตอบผิดมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในวัยรุ่นอาจเป็นสาเหตุเสริมของการเกิดโรคเหงือกอักเสบร้อยละ 60.4 การส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากนั้น จะช่วยป้องกันปัญหาโรคเหงือกอักเสบและลดแนวโน้มของการเกิดโรคเหงือกอักเสบในวัยผู้ใหญ่ต่อไป

References

1. ณัฐวุธ แก้วสุทธ, อังศินันท์ อินทรกำแหง และพัชรี ดวงจันทร์. “ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น” วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 19(2) : 153-163; กรกฎคม 2556
2. นันทนา สุจินพรหม และนิรุวรรณ เทรินโบล. “การพัฒนาระบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน
มัธยมศึกษาตอนต้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนบ้านแกใหญ่ ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์” วารสารทันตาภิบาล. 27(1) : 3-4; มกราคม-มิถุนายน 2559.
3. ศุภกร ศิริบุรี. “ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย PRECEDE Framework ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 11(3) : 355-368; กรกฎาคม-กันยายน 2560.
4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจอนามัย สวัสดิการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ เท็กซ์ แอนด์ เจอร์รัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2561.
5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
6. วิชัย ศรีคำ, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์ และพิศมร กองสิน. “พฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดนครปฐม” วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(1) : 1-14; มกราคม-ธันวาคม 2560.
7. ณัฐมน สมวัน และรุจิรา ดวงสงค์. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 1-3 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย” วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(1) : 10-19;มกราคม-เมษายน 2561.
8. ยสวิมล คูผาสุก. (2560). โรคเหงือกอักเสบ [เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://dt.mahidol.ac.th/th/
9. อรุณณีย์ ธงสวัสดิ์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
10. เพ็ญแข ลาภยิ่ง และเสกสรรค์ พวกอินแสง. ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการ
พัฒนาแผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
11. Best, J.W. Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1977.
12. ศิริพร คุยเพียรภูมิ. การแปลผลคะแนนด้านความรู้. วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. 2555; (11)3 : 358.
13. อุมาพร ชมโฉม, อารยา ปรานประวิตร และ วันเพ็ญ แก้วปาน. “ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี” วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (1) : 234-252; มกราคม-เมษายน 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15