ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • สิประภา บุบผาวรรณา คณะแพทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ประจวบ แหลมหลัก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อนุกูล มะโนทน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

นักเรียนมัธยมศึกษา, ความเครียด, ความสัมพันธ์, ด้านภูมิทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 2,404 คนและสุ่มตัวอย่างได้ 347 คนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนประชากรนักเรียนแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสหสัมพันธ์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความเครียดระดับมากร้อยละ 47.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักเรียนนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ โรคประจำตัว ปัจจัยส่วนการศึกษา ได้แก่ แผนการเรียนที่กำลังศึกษา ปัจจัยสิ่งแวดล้อมได้แก่ ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ด้านการเรียนการสอน และด้านภูมิทัศน์

 

Author Biography

สิประภา บุบผาวรรณา, คณะแพทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

References

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต กรมสุขภาพจิต เผยวัยรุ่นไทยปรึกษา “ปัญหาเครียด” มากสุด แนะเทคนิคจัดการความเครียด[อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563], เข้าถึงจาก https://www.dmh.go.th/newsdmh/view.asp?id=30188.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สัญญาณเตือนป้องกันการฆ่าตัวตายในสังคมไทย.สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยา [อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563],เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/prphayao2560/PoSts/2343405292538574/.

โกวิทย์ นพพร. Mental Health ความเครียดสะสม เสี่ยงฆ่าตัวตาย [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ12กันยายน 2563], เข้าถึงจากhttps://www.SamitivejhosPitals.com/th/article/detail/suicide-accumulationofstress.

คณิน จินตนาปราโมทย์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. (2561). สรีรวิทยาความเครียดจากการทำงาน และการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญความเครียด ในอาชีพแพทย์.J Med HealthSci;2561.หน้า112-123.

คมกริช นันทะโรจพงศ์, ภูธิป มีถาวรกุล, ธีระวัฒน์ จันทึก. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุ ของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการความเครียดของวัยรุ่นตอนกลาง.สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2561;24(1):3-38.

ชนิกานต์ ขำเหมือน, อานนท์ วรยิ่งยง, วิฑูรย์ โล่สุนทร. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. [อินเทอร์เน็ต].2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2563]เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Admin/Downloads/Documents/5674020730_2.pdf.

เชียงใหม่นิวส์. เชียงใหม่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของจังหวัดที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงที่สุด.[อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2563],เข้าถึงจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/941467/.

ณรงค์กร ชัยวงศ์. การศึกษาความเครียด สาเหตุความเครียด ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ.2561;10:123- 190.

ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์. เด็กไทยเรียนหนักสุดในโลก-เครียดพ่อแม่กดดัน-แบกความหวังของคนรอบข้าง.TCIJ ทำความจริงให้ปรากฏ.สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563,จาก https://www.tcijthai.com/news/.

เนตรราตรี ท้าวโสม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2555;7:33-42

ประสพชัย พสุนนท์. การกำาหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ Sample Size Determination from Krejcie and Morgan (1970)

Approach in Quantitative Research.2557.

พรพรรณ ศรีโสภา, ธนวรรณ อาษารัฐ. บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการความเครียด. บูรพาเวชสาร.2560;4:79-92.

วรรณกร พลพิชัย, จันทรา อุ้ยเอ้ง. การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง .วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.2561; 10:94-106.

วิสุทธิ์ เวียงสมุทร. อยู่บ้านเรียนออนไลน์ เด็กชนบทสุดเหลื่อมล้ำ.ไทยรัฐออนไลน์.[อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 มิถุนายน 2563] เข้าถึงจาก: https://www.thairath.co.th/news/local/1846261.

ศุภกร ศรีแผ้ว. การเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่น (Pubertal change) [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2563].เข้าถึงจาก dhttps://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_541_2/Working_with_adolescents_in_family_medicine/index2.html#

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.2560;9:81-92.

สเุมธ พงษ์เภตรา. ปัจจัยทีส่งผลต่อสัมพันธภาพกับเพื่อนของนักเรียนช่วงชั้นที่4 โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เขตยานนาวา กรงุเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์,กศ.ม.,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร.[อินเทอร์เน็ต].2553 [เข้าถึงเมื่อ.15 มิถุนายน 2561]เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Admin/DownLoads/Docu-men.

อรุณี มิ่งประเสริฐ. การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์กรุงเทพมหานคร.[อินเทอร์เน็ต].2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2563].40(2),211-227.เข้าถึงได้จากts/Sumeth_P_2.pdf.

อุรปรีย์ เกิดในมงคล. การศึกษาลักษณะความหวังทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่นใน กรุงเทพมหานคร.วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.2556;39(2):,54-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15