ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เสาวณีย์ เทศนุ้ย
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ

คำสำคัญ:

เด็กวัยก่อนเรียน, พฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการ, ภาวะโภชนาการ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจภาวะโภชนาการของ เด็กวัยก่อนเรียน 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองและเด็กวัยก่อนเรียน จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนสำหรับผู้ปกครอง และแบบบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กวัยก่อนเรียน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กวัยก่อนเรียนอยู่ในเกณฑ์สมส่วน ร้อยละ 78.92 อยู่ในเกณฑ์ผอม ร้อยละ 12.57 และอยู่ในเกณฑ์อ้วน ร้อยละ 8.74
2. ระดับพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 2.88)
3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน คือ การเข้าถึงอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนและการเตรียมอาหารของผู้ปกครอง โดยทั้ง 2 ตัวแปรมีอำนาจในการทำนายพฤติกรรมเสี่ยงด้านโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุงได้ร้อยละ 36.80 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดแนวทางในการส่งเสริมการบริโภคอาหารใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและป้องกันภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียนได้

References

1. ประไพพิศ สิงหเสม ศักรินทร์ สุรรณเวหา และอติญาณ์ ศรเกษตริน. “การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน” วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(3): 226-235.
2. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน เด็กวัยอนุบาล 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2560.
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2559.
4. Pearson, N., Biddle, J. H. Stuart, and Gorely, T. Family correlates of breakfast consumption among children and adolescents. A systematic review. Appetite Journal. 2009; 52(1): 1-7.
5. ทักษิณา ข่ายแก้ว. โรคขาดสารอาหาร - โรคอ้วน ความท้าทายด้านโภชนาการของประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.voathai.com/a/asia-child-nutrition-tk/3331820.html.
6. สำนักข่าวเจาะลึกระบบสุขภาพ. ผลสำรวจระดับชาติล่าสุดชี้ภาวะทุพโภชนาการของเด็กและการไม่เรียนต่อระดับมัธยมเพิ่มขึ้น [อินเตอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักข่าว; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/10/20357.
7. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2561. กรุงเทพฯ: อมรินทร์; 2561.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. พัทลุง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง; 2564.
9. ศักรินทร์ สุวรรณเวหา อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และวิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2562; 25(2): 8-24.
10. Green, L. & Krueter, M. Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. American: Mayfield Publishing; 2005.
11. ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2556; 16(2): 9-18.
12. วีรวัลย์ ศิรินาม. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.
13. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ (INMU –ThaiGrowth). นครปฐม: สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.
14. กิตติพร เนาว์สุวรรณ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการพยาบาลด้านผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2560; 10(1): 56-68.
15. สุระพร ปุ้ยเจริญ และคณะ. สถานการณ์การจัดการด้านอาหารและโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2562; 2(1): 119-130.
16. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2557. [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/9 วิธีกินดีเพื่อสุขภาพ.html.
17. จิรารัตน์ พร้อมมูล และคณะ. สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5(3): 169-185.
18. ยุวนิดา อารามรมย์ และวรินทร์ลดา จันทวีเมือง. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในเด็กวัยก่อนเรียน ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562; 6(2): 199-213.
19. อนงค์นาฏ ชนะกุล. อันตรายระยะยาว ของมื้อเช้าง่ายๆ “หมูทอด หมูปิ้งปาท่องโก๋ฯ” [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/goodhealth/detail/9580000115196.
20. จิรภาภรณ์ ปัญญารัตนโชติ ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 25(2): 43-56.
21. New Zealand Ministry of Health. Food and nutrition guidelines for healthy children and young people (aged 2 -18 years). New Zealand: The Ministry of Health; 2012.
22. สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และคณะ. การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล. 2560; 32(4): 120-133.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15