ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลเด็กในเรื่องการเลิกดูดขวดนมของเด็กอายุ 6-36 เดือน

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ แก้วประสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริพร คำสะอาด
  • อรวรรณ นามมนตรี
  • จุลพันธ์ สุวรรรณ

คำสำคัญ:

การเลิกดูดขวดนม , ความรู้, ทัศนคติ, ผู้ดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

การเลิกดูดขวดนมช้าส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็ก การศึกษาที่ผ่านมาพบเด็กมีการเลิกดูดขวดนมช้า การศึกษานี้จึงต้องการประเมินความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลเด็กในเรื่องการเลิกดูดขวดนม เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มขั้นตอนเดียว คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 3 กลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด 552 คน เก็บข้อมูลโดยผู้ดูแลเด็กตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ยกเว้นคนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผู้ดูแลเด็กตอบแบบสอบถามกลับ 373 คน แบ่งเป็น ผู้ดูแลเด็กกลุ่มอายุ 6 -11 เดือน 64 คน กลุ่มอายุ 12 – 18 เดือน 95 คน และ กลุ่มอายุ 19 – 36 เดือน 214 คน ค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องการเลิกดูดขวดนมของผู้ดูแลเด็กทุกกลุ่มเท่ากับ 2.2 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) 95%CI อยู่ระหว่าง 1.9 ถึง 2.6 คะแนน ทัศนคติเฉลี่ย 17.1 คะแนน (คะแนนเต็ม 25 คะแนน) 95%CI อยู่ระหว่าง 15.5 ถึง 18.7 คะแนน เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มอายุของเด็กพบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลเด็กทุกกลุ่มใกล้เคียงกัน จึงสรุปได้ว่า ความรู้ของผู้ดูแลเด็กเรื่องการเลิกดูดขวดนมอยู่ในระดับน้อย ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ดูแลเด็กในประเด็นดังกล่าว

References

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, 2557.

อรวรรณ นามมนตรี, นงรัตน์ กลํ่ารัตน์, และสุนิสา ขาวโกทา. “เด็กติดขวดนมจัดการอย่างไรดี?”วารสารทันตาภิบาล. 27(1): 144-152; มกราคม-มิถุนายน, 2559.

อนุศักดิ์ เพชรัตน์ และอรวรรณ กีรติสิโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจํานวนฟันผุในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตําบลไตรตรึงษ์ อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร. วิจัยเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจ. การประชุมวิชาการระดับชาติ นอร์ทเทิร์นวิจัย ครั้งที่ 3; 26 พฤษภาคม 2560; ตาก: วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น; 2559. 321-325.

Bonuck K, Kahn R, and Schechter C. Is late bottle-weaning associated with overweight in young children? Analysis of NHANES III data Clin Pediatr (Phila). 43(6): 535-540; July-August, 2004. doi: 10.1177/000992280404300605. PMID: 15248006.

Brotanek JM, Halterman JS, Auinger P, Flores G, and Weitzman M. Iron deficiency, prolonged bottle-feeding, and racial/ethnic disparities in young children Arch Pediatr Adolesc Med. 159(11): 1038-1042; November, 2005. doi: 10.1001/archpedi.159.11.1038. PMID: 16275794.

Sawasdivorn S, Wanthanaphuti P, Pue-arun S, and Juansang S. Situation of baby bottle use: is it suitable to recommend weaning by the age of one year? J Med Assoc Thai. 91 Suppl 3: S128-135; October, 2008. PMID: 19253508.

อุษา ยิ้มสุวรรณ. การสํารวจเทคนิคการเลิกใช้ขวดนมของเด็กอายุ 1½ ปี - 3½ ปี ที่มารับบริการที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โครงการนําร่อง). วิทยานิพนธ์การศึกษาและฝึกอบรมตามหลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชพีเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทย์สภา. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข, 2552.

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ พิชิตเจ้าตัวน้อยเลิกขวดนม. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, 2552.

จุทามาส มณีโชติ. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทันตสุขภาพต่อการแปรงฟัน การเลิกขวดนมของผู้ดูแลเด็กและฟันผุที่เพิ่มขึ้นของเด็กอายุ 12-18 เดือน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี / เอดส์ ของคนประจำเรือไทย วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 8(2): 84-102; กรกฎาคม-ธันวาคม, 2556.

สุรศักดิ์ ภักดี และรุจิรา ดวงสงค์. ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(2): 186-193; พฤษภาคม-สิงหาคม, 2561.

ยุพา ถาวรพิทักษ์. ประชากรและตัวอย่าง วิธีการชักตัวอย่างและการประมาณค่า. ขอนแก่น. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธันวาคม 2562] เข้าถึงได้จาก: http://www.sasuk101.moph.go.th/

อุดมพร รักเถาว์ และจารุวรรณ วงษ์เวช. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2(1): 52-64; มกราคม-เมษายน, 2558.

อุดมพร รักเถาว์ และจารุวรรณ วงษ์เวช. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2(1): 52-64; มกราคม-เมษายน, 2558. อ้างจาก Best JW, Kanh, JV. Research in Education. 6th ed. New Delhi: Plentice-Hall, 1989.

จิราพร เขียวอยู่. วิธีสถิติสำหรับการวัดด้านสุขภาพ. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557. อ้างจาก สุวิมล ติรกานันท์. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย วิสัญญีสาร. 44(1): 36–42; มกราคม-มีนาคม, 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.sasuk101.moph.go.th/

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 13(3): 181-188; กันยายน-ธันวาคม, 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31