ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้สุงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความเครียด, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ปัจจัยบทคัดย่อ
การดูแลผู้สูงอายุมักก่อให้เกิดความเครียดแก่ผู้ดูแล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลลดลงได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเครียดสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.75 อายุเฉลี่ย 56.12 ปี (S.D.=13.10) จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 46.25 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 28.75 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 55.00 มีการเข้าร่วมในกิจกรรมในชุมขน ร้อยละ 58.12 ไม่เคยได้รับการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 60.00 ความสัมพันธ์เป็นบุตร ร้อยละ 50.00 ดูแลมามากกว่า 5 ปี ร้อยละ 56.25 ใช้เวลาในการดูแลมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 35.62 และได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน ร้อยละ 58.12 กลุ่มตัวอย่างไม่มีความเครียด ร้อยละ 65.63 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่.05 ได้แก่อายุ (ORadj = 2.92; 95%CI = 1.03-8.27; p-value = 0.044) การข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน (ORadj = 2.24; 95%CI = 1.12-4.44; p-value = 0.022) และการได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน (ORadj = 0.32; 95%CI = 0.14-0.75; p-value = 0.009) ผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตใจ และเป็นการส่งเสริมคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุอีกด้วย
References
2. จิรนันท์ ปุริมาตย์, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง และกรวรรณ ยอดไม้. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดจันทบุรี, วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(2) : 610-619; 2562.
3. จิราภรณ์ การะเกตุ. ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/. 2562.
4. ทรงสุดา ยงพัฒนจิตร, สุปรีดา มั่นคง, และนุชนาฏ สุทธิ. ความเครียดและการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลในหอผู้ป่วยที่มีการดูแลแบบประคับประคอง, วารสารการพยาบาล. 35(2) : 117-131; 2563.
5. นพรัตน์ สวนปาน, แสงทอง ธีระทองคำ และสมนึก สกุลหงส์โสภณ. ปัจจัยทำนายความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนที่เลือกสรร, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11(2) : 133-148; 2562.
6. ณัชศฬา หลงผาสุก, สุปรีดา มั่นคง, และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. ภาวะสุขภาพ และการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง. วารสารสภาการพยาบาล. 33(2): 97-109; 2561.
7. ณัฐพงศ์ เป็นลาภ และธีรยุทธ รุ่งนิรันดร. ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัย. 60(4): 425-438; 2559.
8. สิริทิพย์ สีหะวงษ์ และภูษณิศา มีนาเขตร. ปัจจัยทำนายความเครียดของสมาชิกครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี, วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 33(2): 48-60; 2562.
9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานจำนวนผู้สุงอายุ อำเภอเมือง จังหวัตนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2563. 2563.
10. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2559.
11. สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย, วารสารข้าราชการ. 60(4): 5-6; 2561.
12. Mayr S., Erdfelder E., Buchner A., & Faul F. A short tutorial of G*Power. Tutorials in Quantitative Methods for Psychology, 3(2): 51-59; 2007.