ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชนกนันท์ แสนสุนนท์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ
และสถานการณ์ของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับพฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 9,452 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 225 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม 2563 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป นำเสนอข้อมูลด้วยค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 68.89 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 59.59 ± 10.25 ปี ส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.22 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุ (AOR= 2.52; 95% CI: 1.35 to 4.71; p-value= 0.004) ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพในระดับดี (AOR= 3.97; 95% CI: 1.19 to 14.24; p-value= 0.034) และปัจจัยพฤติกรรมสุขภาพในระดับดี (AOR= 2.46 ; 95% CI: 1.25 to 4.83; p-value= 0.009) ข้อเสนอแนะ ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีอายุมากว่า 60 ปี รวมถึงควรจัดกิจกรรมเชิงรุกเพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ยังอยู่ในระดับปานกลางให้ดีขึ้น

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ห่างไกลโรคNCD ด้วยหลัก 3อ.2ส. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 62]. เข้าถึงจาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/41292.html

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 62]. เข้าถึงจาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ความชุกของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 62]. เข้าถึงจาก : https://kkhdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านไผ่. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น CUP โรงพยาบาลบ้านไผ่. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 62]. เข้าถึงจาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc

The WHOQOL GROUP. The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL). In: Position paper from the World Health Organization. Social Sciences Medicine; 1995. p.1403-1409.

Mancuso JM. Assessment and measurement of health literacy: an integrative review of the literature. Nurs Health Sci.2009;11(1):77-89.

อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม3อ.2ส.ของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2561; 6: 58-72.

เพชราภรณ์ คําเอี่ยมรัตน์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานตําบลทุ่ม อําเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(3): 4-11.

Hsieh, Bloch & Larson. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, (1998) 8, 1623-1634

Cronbach, LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951; 195116 (3): 297-334.

Kuder GF, Richardson MW. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika. 1937;2(3):151-60.

Bloom, B., Englehart, M. Furst, E., Hill, W., & Krathwohl, D. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. New York, Toronto: Longmans, Green; 1956.

John W. Best. Research in Education. (2nd ed.) Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall, 1970. Educational and Psychological Measurement. 1971;31(3):781-783.

พิทยา ไพบูลย์ศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561;22:97-107.

อารีย์ แร่ทอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2561;45:62-70.

ศิรินันท์ สุขศรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2559;68:73-83.

อนัญญา คูอาริยะกุล และฉลองรัตน์ มีศรี. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ 2557;18:28-40.

Angner E, Miller M, Ray M, Saag K, Allison J. Health Literacy and Happiness: A Community-based Study. Social Indicators Research. 2010; 95:325-38.

กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558;31:26-36.

เขมิกา สมบัติโยธา วิทยา อยู่สุข และ นิรุวรรณ เทิรนโบล์. พฤติกรรมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561;228:47-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-22