การรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • นาถนภา คำลอยฟ้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พีระพล รัตนะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลต่อเนื่อง, มาตรฐาน HA, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการพัฒนาและรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในประเทศไทย และปัญหา อุปสรรคต่อการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการพัฒนาและรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ประสานงานหรือผู้รับผิดชอบงานคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 528 ท่าน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก         ผลการศึกษา พบว่า การรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้านวัฒนธรรมการพัฒนาคุณภาพ ด้านมนุษย์ ด้านนวัตกรรม ด้านการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ด้านการวัด ด้านการประเมินผล ด้านความผูกพัน ด้านการเสริมพลัง ด้านงบประมาณ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาและรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 1 ปัจจัย คือ ด้านการประเมินผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และตัวแปรด้านการประเมินผล สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรระดับความต่อเนื่องของการพัฒนาและรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน HA ได้ด้วยความถูกต้อง ร้อยละ 88.6 ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1) ควรกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดกระบวนการทำงาน ร่วมกันกับบุคลากรทุกระดับในโรงพยาบาล วางกลยุทธ์ในการสื่อสาร ถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญ รับรู้ถึงนโยบายการพัฒนาคุณภาพที่ชัดเจน รู้ประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพ ทำให้บุคลากรทุกระดับได้เข้าใจถึงบทบาทในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่ชัดเจนและถูกต้อง 2) การส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยมีการกำหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และมีการประเมินความรู้ความเข้าใจของบุคลากรรายบุคคลต่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล 3) ควรส่งเสริมช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้โรงพยาบาลได้รับรู้ รับทราบถึงการจัดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง และรวมทั้งมีการประเมินผลกลุ่มผู้เข้ารับฟังอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการหากลุ่มเป้าหมายเฉพาะเรื่อง

References

Shaw C, Bruneau C, Kutryba B, De Jongh G, Suñol R. Towards hospital standardization in Europe. International Journal for Quality in Health Care. 2010;22(4):244-9.

Leatherman S, Ferris TG, Berwick D, Omaswa F, Crisp N. The role of quality improvement in strengthening health systems in developing countries. International Journal for Quality in Health Care. 2010;22(4):237-43.

อำพัน วิมลวัฒนา. โมเดลสมการโครงสร้างการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างยั่งยืน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2561.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. 2559.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ด้านสาธารณสุขฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561) 2561.

Jeffcott S. The spread and sustainability of quality improvement in health care 2014 [Available from: http://www. qihub. scot. nhs. uk/media/596811/the% 20spread% 20and% 20sustainability% 20ofquality% 20improvement% 20in% 20healthcare% 20pdf.

Malherbe J. Counting the cost: The consequences of increased medical malpractice litigation in South Africa. SAMJ: South African Medical Journal. 2013;103(2):83-4.

Mello MM, Chandra A, Gawande AA, Studdert DM. National costs of the medical liability system. Health affairs. 2010;29(9):1569-77.

AlJarallah JS, AlRowaiss N. The pattern of medical errors and litigation against doctors in Saudi Arabia. Journal of family & community medicine. 2013;20(2):98.

สุปราณี เจียรพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2555.

สุศิภรณ์ อุดมสุข. การนำนโยบายระบบประกันคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation : HA) ไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15