การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
เทคนิคการมีส่วนร่วม, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, เข้าถึงชุมชน, พยาธิใบไม้ตับบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบมีส่วนร่วม ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาทั้งหมด 48 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตำบลพรสำราญ จำนวน 30 คน และผู้ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับ 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ Paired t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตระหนักว่าโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไขและป้องกัน โดยการป้องกันควรเริ่มตั้งแต่ “ต้นน้ำ” ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคมที่เรียกว่า “พรสำราญ 3 ไม่” (ไม่กินปลาดิบ ไม่เป็นพยาธิใบไม้ตับ ไม่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี) ร่วมกับการปรับเปลี่ยนและติดตามพฤติกรรมแบบ “เคาะบ้าน” ส่งผลให้ประชาชน “ลด และ เลิก” การบริโภคปลาน้ำจืดที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพิ่มมากขึ้น และไม่พบข้อร้องเรียนเรื่องสิ่งปฏิกูลในชุมชน ภายหลังการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายมีระดับความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ปัจจัยความสำเร็จเกิดจากประชาชนและทุกหน่วยงานในพื้นที่ตระหนักถึงปัญหาและมีส่วนแก้ไขปัญหาแบบ “การเข้าถึงชุมชน” โดยมีหน่วยงานภาครัฐเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนและชี้แนะทางวิชาการ โดยสรุปรูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนควรใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยวิธีที่หลากหลายและมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างแท้จริง
References
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีปี 2559 – 2568. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
3. ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์. (2546) พฤติกรรมสุขภาพและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ หน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. สรญา แก้วพิทูลย์ และคณะ. (2556). รายงานการวิจัย การตรวจหาและจำแนกพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธี Kato’ Thick Smear. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
5. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. (2557). รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.riskcomthai.org/th/document/search.php?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A. [สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2560].
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ (Node OVCCA เขต 9). (2560). สรุปเอกสารการประชุมคณะกรรมการ Node พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เขตบริการสุขภาพที่ 9 ครั้งที่ 1/2560. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.
7. นิศร ผานคำ. (2557). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับชุมชนตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8. เกสร แถวโนนงิ้ว และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่เสี่ยง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6). พฤษภาคม – ธันวาคม.
9. สาริณี สีทะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนบ้านโพนยานาง ตำบลนาใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10. วีระพล วิเศษสังข์. (2560). โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวต่อการลดการเกิดโรคพยาธิใบตับในกลุ่มวัยแรงงานตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.