ปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดการบริโภคเค็ม ชุมชนบ้านป่าเหียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • Yongyuth Kaewtem วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์
  • วรางคณา สันเทพ
  • ไกรศร วงศ์ธิดา
  • ประดิษฐ นิรัติศรัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลว , ความรอบรู้ทางสุขภาพ , การบริโภคเค็ม

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ ความล้มเหลวในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดการบริโภคเค็มในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 80 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มเสี่ยง 10 คน บุคลากรด้านสาธารณสุข 10 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอย่างปลอดภัย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการทบทวนหลังปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วย 2 ด้านหลัก คือ 1) ด้านกระบวนการอบรมที่สร้างความตระหนักรู้ด้วยการสะท้อนคิดจากกระบวนการกลุ่ม ได้แก่ 1.1) การตอบสนอง: การเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมรับรู้ ปัญหา ความจำเป็นในการลดการบริโภคเค็มของตนเอง 1.2) การเรียนรู้: สร้างความรอบรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านฐานกิจกรรมกลุ่มวอล์คแรลลี่และให้ความรู้เป็นระยะขณะลงเยี่ยมบ้าน 1.3) พฤติกรรม: สอบถาม ติดตาม สังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ 1.4) ผลลัพธ์: สะท้อนคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยพบว่าคะแนนความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอย่างปลอดภัย อยู่ในระดับดีมากและระดับปานกลาง ตามลำดับ มีความรอบรู้ทางสุขภาพสามารถเข้าถึง เข้าใจ สื่อสาร เลือกรับประทานอาหารลดเค็มด้วยการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของอาหารประเภทต่างๆ อย่างง่ายได้  2) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างความรอบรู้ ได้แก่  2.1) การมีเครือข่ายแกนนำ เจ้าหน้าที่ หน่วยงานภายในและภายนอกชุมชนที่เข้มแข็ง 2.2) การมีทุนทางสังคมที่ดี เช่น วัด พระสงฆ์ในการเป็นบุคคลต้นแบบ สำหรับปัจจัยความล้มเหลวพบว่า กลุ่มตัวอย่างบางรายติดภารกิจขณะติดตามเยี่ยมบ้านและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยังทำได้ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามผลการศึกษาสามารถนำไปขยายผลทั้งการสร้างมาตรการทางสังคม การส่งเสริมทุนทางสังคมที่ดี การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพเพื่อลดการบริโภคเค็มในชุมชนต่อไป

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข, แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564), [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564. http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20180914162453_1_.pdf.

สำนักงานสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564.https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/127178.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. อัตราป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่. ลำปาง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง, 2562.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากโภชนาการ (ฉบับที่ 2), [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564. http:/food.fda.moph.go.th/law/data/announ moph/P219.pdf.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว. ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง 3 ปี ย้อนหลัง. ลำปาง: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าขัว, 2564.

Lawrence J, Edward D, John E, Thomas A, Ralph L,Douglas R, et al. The importance of population-wide sodium reduction as a means to prevent cardiovascular disease and stroke: a call to action from the American Heart Association. Circulation; 123: 1138-1143, 2011.

กานต์ณิพิชญ์ ปัญญธนชัยกุล, สุทธีพร มูลศาสตร์ วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา. 21(1). มกราคม – เมษายน, 41-54.2563.

Krejcie, R.V. , & Morgan D.W. Determining Sample Size for Research Activities Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610, 1970.

Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago: Ronal McNally & Company.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for Contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion

international. 15(3), 259-267, 2018.

Kirkpatrick DL. Evaluating Training Program: The Four Level. San Francisco: Berrett-Koehler Publishers; 1994.

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล, วารสารแพทย์นาวี. 44(3),183-197, 2560.

กุลชญา ลอยหา และคณะ. การเสริมสร้างศักยภาพบทบาทของนักจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 24(1) มกราคม-เมษายน. 1-13, 2560.

วรางคณา สันเทพ. ถอดบทเรียนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ โดยเครือข่าย บ้าน วัดโรงเรียนโรงพยาบาล จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 6(1).11-30, 2562.

ปุญญาภา รุ่งปิตะรังสี. ถอดบทเรียน DHS South การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอประเด็น ‘โรคความดันโลหิตสูง’.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2559

วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย. ถอดบทเรียน DHS South การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง. สงขลา: มูลนิธิสุขภาพภาคใต้, 2562

กฤษดา พรหมสุวรรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลหนองไม้แก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์, 2560

พิชศาล พันธุ์วัฒนา. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเมืองวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 26(2) พฤษภาคม - สิงหาคม. 93-103, 2562.

สม นาสอ้าน และ ทิพาพร ราชาไกร. การพัฒนารูปแบบการลดการบริโภคเค็มในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสำานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 27(3) กันยายน - ธันวาคม. 99-110, 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31