ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น ในเขตสุขภาพที่ 5 ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ปริญญา จิตอร่าม
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์
  • พรชัย ขุนคงมี
  • จิรนันท์ ตุลชาติ
  • ศุภนิจ ทับชัย

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษา , บัณฑิตศึกษา, เขตสุขภาพที่ 5

บทคัดย่อ

       

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ทัศนคติที่มีต่อวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการศึกษาต่อ และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนในเขตสุขภาพที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 372 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.15) มีอายุเฉลี่ย 32.81 ปี ( 7.81) ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข (ร้อยละ 47.04) มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท (ร้อยละ 77.20) และ กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อวิทยาลัยอยู่ในระดับดี (  = 4.11) เมื่อพิจารณา แยกตามองค์ประกอบพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์อยู่ในระดับดีมาก (  = 4.32) รองลงมาคือ อาจารย์ (  = 4.13), การจัดการเรียนการสอน (  = 3.87) ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาสาธารณสุขศาสตร์ (ร้อยละ 28.23) รองลงมาคือ สาขาระบาดวิทยาและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 21.77) และสาขาวิจัยและนวตกรรม (ร้อยละ 19.09) ตามลำดับ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่ (ร้อยละ 48.78) รวมถึงเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านความรู้และการวิจัย (ร้อยละ 31.71) โดยมีความต้องการเรียนทั้งแบบ In-class และ Online ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการศึกษาเป็นแหล่งทุนของตนเอง และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการศึกษาต่อ ได้แก่ ทุนการศึกษา ช่วงเวลาการเรียนการสอน และทัศนคติต่อสถาบัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) อย่างไรก็ตาม ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งที่จำเป็น และในปัจจุบันผู้เรียนมีความต้องการเรียนที่สามารถเรียนได้ทั้งออนไลน์และในชั้นเรียน โดยไม่กระทบต่องานประจำที่ทำอยู่ และยังควรส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในงานประจำอีกทางหนึ่งด้วย

References

วิรงรอง แก้วสมบูรณ์, สุธิดา วรโชติธนัน, คัดคนางค์ ศรีพัฒนะพิพัฒน์, รุจิรา หมื่นทอง, กษมา นับถือดี, เขมพรรษ บุญโญ, สรยา ศิริเพชร. (2561). การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2560 - 2564). วารสารควบคุมโรค, 44(1), 50-62.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. การปรับตัวสู่ความเป็นเลิศเมื่อเกิดภาวะถดถอยของอุดมศึกษาเอกชนไทย. รายงานสืบเนื่องในการประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 (2558,13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี. 2539.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. 2561.

กนกวรรณ สุวรรณที และสุนิสา นาคะเต. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทระหว่างในประเทศกับต่างประเทศในหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต (MBA) กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. จุลนิพนธ์. คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2555.

สุพัฒน์ อาสนะ, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สุทิน ชนะบุญ, ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และคณะ. ความต้องการการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2562, 12(3). 233-239.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.

พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พุทธศักราช 2562. (2562, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 43ก, หน้า 40 – 64.

สถาบันพระบรมราชชนก. แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2563 – 2567. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2562.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิทยพัฒน์. กรุงเทพฯ. 2556.

ทัศนีย์ ชาติไทย. แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2555.

สภาการสาธารณสุขชุมชน. ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 41ง 13 กุมภาพันธ์ 2562 หน้า 21-32.

พรรณพนัช จันหา และอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 2558, 8(1), 291-318.

ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ. ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานการวิจัย. ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31