สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวี ชั่งชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • อัญรินทร์ พิธาภักดีสถิตย์
  • จิริสุดา สินธุศิริ
  • วรางคณา วิเศษมณี ลี
  • เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล
  • กรรณิการ์ แจ้งวิจารณ์

คำสำคัญ:

สุขาภิบาลอาหาร , ร้านจำหน่ายอาหาร , มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขาภิบาลอาหารร้านจำหน่ายอาหารและตรวจสอบการปนเปื้อนของวัตถุห้ามใช้ในอาหารและวัตถุเจือปนในอาหารตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและประกาศที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลสุขาภิบาลอาหารร้านจำหน่ายอาหารด้วยแบบ สอรร.7 จำนวน 28 ร้าน และตรวจวิเคราะห์วัตถุห้ามใช้ในอาหารและวัตถุเจือปนในอาหาร 6 ชนิด ด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย ได้แก่ บอแรกซ์ กรดซาลิซิลิค ฟอร์มาลีน กรดแร่อิสระ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ และสีสังเคราะห์ จำนวน 84 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าร้านจำหน่ายอาหารมีมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60.71 และร้านจำหน่ายอาหารไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 39.29 ผลการตรวจสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารพบว่า ผู้ปรุง ผู้เสิร์ฟ ไม่สวมผ้ากันเปื้อนสีขาว หรือไม่มีเครื่องแบบ ผู้ปรุงไม่สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม ร้อยละ 89.29 นอกจากนี้ตัวอย่างอาหารตรวจพบ               สารบอแรกซ์ ร้อยละ 3.57 โดยตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่พบวัตถุห้ามใช้ในอาหารและวัตถุเจือปนในอาหาร ร้อยละ 96.43 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสภาวะสุขาภิบาลอาหารและการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในอาหาร ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ประกอบอาหารรวมทั้งพัฒนาสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เปิดให้บริการ นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการควบคุมร้านจำหน่ายอาหารให้มีการดำเนินงานอย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการสุขาภิบาลอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคลของ           ผู้สัมผัสอาหาร หรือสภาพแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมั่นใจว่าได้รับอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ  

References

Lee, H., & Yoon, Y. Etiological agents implicated in foodborne illness World Wide. Food Science of Animal Resources. 2020; 41(1): 1-7.

Pires, S. M., Desta, B. N., Mughini-Gras, L., Mmbaga, B. T., Fayemu, O. E., Salvador, E. M., et al. Burden of foodborne diseases: think global, act local. Current Opinion in Food Science. 2021; 39: 152-159.

Azanaw, J., Gebrehiwot, M., & Dagne, H. Factors associated with food safety practices among food handlers: facility-based cross-sectional study. BMC Research Notes. 2019; 12(1): 683.

Mendedo, E. K., Berhane , Y., & Haile, B. T. Factors associated with sanitary conditions of food and drinking establishments in Addis Ababa, Ethiopia: cross-sectional study. Pan African Medical Journal. 2017; 28: 237.

Thwe, M., Patimakorn, P., & Araya, C. Food safety assessment of food handlers in the canteens of Khon Kaen University. Asia-Pacific Journal of Science and Technology. 2019; 24(02): APST-24-02-09.

พัฒนา พรหมณี. แนวทางการดำเนินงานการสุขาภิบาลอาหารของสถานประกอบการร้านอาหารทาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2562; 8(2) :48-58.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2564. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564 จาก https://online.fliphtml5.com/hvpvl/jhyj.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. คู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กองสุขาภิบาลอาหาร. คู่มือการจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอช อาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด; 2559.

ลลิตา สมสัตย์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การสุขาภิบาลอาหารและการจัดการสิ่งแวดล้อมของศูนย์อาหารและบริการ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2559; 16(3): 73-80.

สำนักระบาดวิทยา. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรคอาหารเป็นพิษ วันที่ 1 มกราคม 2562 – 31 ธันวาคม 2562. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564, จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y62/d03_5362.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานประจำปี 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564, จาก https://drive.google.com/ folders/14Ah6X-

bTJAa40oNR8t9aGAAGCHn_jk0a.

กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. แบบสำรวจโรงอาหาร ตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2547.

อนงค์ หาญสกุล และสุคันธา โอศิริพันธุ์. สภาวะสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหารในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. วารสารคณะพละศึกษา. 2555; 15 (ฉบับพิเศษ): 381-395.

มาลินี ฉินนานนท์. การวิเคราะห์ปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อสัตว์และลูกชิ้นที่จำ-หน่ายในจังหวัดตรัง. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ. 2560; 11(1): 55-61.

รุ่งฤดี ตรีสวัสดิ์, ศลยา สุขสอาด และสุเจตต์ ชื่นชม. การจำแนกการปลอมปนเนื้อสัตว์อื่น และสารบอกแรกซ์ในลูกชิ้นเนื้อสุกรที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13; 8-9 ธันวาคม 2559; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม; 2559. หน้า 189-195.

สุภมาศ วัยอุดมวุฒิ. พิษภัยจากสารบอแรกซ์ในอาหาร. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. Fact Sheet อาหาร. 2549; 5(26 กันยายน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31