ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงานเก็บขนขยะของเทศบาลตำบลในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • จิตติพงศ์ สังข์ทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • นิศากร ตันติวิบูลชัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล, พนักงานเก็บขนขยะ, ปัจจัยส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงานเก็บขนขยะพื้นที่เทศบาลตำบล 9 แห่งในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 136 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้ LSD ในการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานอยู่ในระดับดี สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ระดับการศึกษาและการเจ็บป่วยเป็นโรคจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่รับผิดชอบควรอบรมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงานเก็บขนขยะอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรมีการกำกับดูแลการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะเพื่อให้เกิดความตระหนักในการทำงานด้วยความปลอดภัย

 

References

1. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน, 2561.
2. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. จำนวนและอัตราการประสบอันตรายจากลูกจ้าง 1,000 ราย จำแนกรายจังหวัด ปี 2561-2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน, 2562.
3. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามความรุนแรงและสาเหตุที่ประสบอันตราย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน, 2562.
4. สำนักงานประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต. รายงานจำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามความรุนแรงและสาเหตุที่ประสบอันตราย จังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: กระทรวงแรงงาน. 2561.
5. ศราวุฒิ แสงคำ และจำลอง อรุณเลิศอารีย์. “สิ่งคุกคามสุขภาพในการพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยและแนวทางการป้องกัน” ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562; 34(6): 649-657.
6. นิติยา ชมเชย และกัญญาลักษณ์ ณ รังษี. “ภาวะสุขภาพและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเก็บขยะช่วงน้ำท่วม:กรณีศึกษาพนักงานเก็บขนขยะของสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร” ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2556; 13(2): 195-201.
7. Made, F.,Ntlebi, V.,Kootbodien, T.,Wilson, K.,Tlotleng, N.,Mathee, A.,Ndaba, M.,Kgalamono, S.&Naicker, N. “Illness, Self-Rated Health and Access to Medical Care among Waste Pickers in Landfill Sites in Johannesburg, South Africa.” International Journal of Environmental Research and Public Health. 2020; 17(7): 1-10.
8. สิทธิชัย ใจซาน และวราภรณ์ พันธ์ศิริ. “พฤติกรรมและความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562; 21(1): 46–55.
9. นิฐิชา ธุวสินธุ์ และชุลีพร หีตอักษร. “ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของพนักงานเก็บขยะเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จสุราษฎร์ธานี”. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพ. 2561; 1(1): 25-34.
10. กัลยาณี โนอินทร์ และนิศากร เชื้อสาธุชน. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการเก็บขยะในช่วงน้ำท่วมของพนักงานเก็บขยะ: กรณีศึกษาในสำนักงานเขตแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร”. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555; 6(4): 513-523.
11. สุปรีดิ์ เดชา และสมคิด ปราบภัย. “ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วารสารควบคุมโรค. 2561; 44(1): 30-37.
12. Miwano, E.P., Ibidabo, A & Kingsley, D. “Occupational Hazards and Safety Practices of Refuse Collectors in Obio/Akpor Local Government Area of Rivers State.” Asian journal of Medicine and Health. 2018; 13(3): 1-9.
13. Lissah, S.Y., Ayanore, M.A., Krugu, J. & Ruiter, R.AC. “Psychosocial Risk, Work-Related Stress, and Job Satisfaction among Domestic Waste Collectors in the Ho Municipality of Ghana: A Phenomenological Study.” International Journal of Environmental Research and Public Health. 2020; 17(8): 1-19.
14. Adekiya, O. “Assessment of Occupational Health Risk and Awareness of Scavengers To Covid-19 in Abuja Municipal Area Council, Nigeria.” American Journal of Health, Medicine and Nursing Practice. 2021; 6(1): 18-31.
15. สลิตรัตน์ นิตรมร, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล และธนาศรี สีหะบุตร. “ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บและคัดแยกขยะสังกัดเทศบาลจังหวัดนนทบุรี” วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(2): 232-241.
16. มัทนา นานอก และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. “พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยในเทศบาลนครขอนแก่น” วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563; 13(1): 48-59.
17.สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. “ทฤษฎีพฤติกรรมและการประยุกต์สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทางในประเทศไทย” วิศวกรรมสาร. 2553; 63(6):59-70.
18. Laor, P., Suma, Y., Keawdounglek, V.& Hongtong, A. “Knowledge, Attitude and Practice of Municipal Solid Waste Management among Highland Residents in Northern Thailand.” Journal of Health Research. 2018; 32(2): 123-131.
19. Arab, M., Safari, H., Zandian, H.& Nodeh, F.H. “Evaluation of Practice Safety Features of Hospital Waste Collection among Iran’s Public Hospitals.” The Journal of Material Cycles and Waste Management. 2017; 19: 939-945.
20. Gizaw, Z., Gebrehiwot, M., Teka, Z.& Molla, M. “Assessment of Occupational Injury and Associated Factors among Municipal Solid Waste Management Workers in Gondar town and Bahir Dar City, Northwest Ethiopia, 2012.” Journal of Medicine and Medical Sciences. 2014; 5(9): 181-192.
21. อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. “การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ” ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์คลังนานาวิทยา : 2556.
22. อนามัย ธีรวิโรจน์ เทศกะทึก. “อาชีวอนามัยและความปลอดภัย”ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์ : 2556.
23. สุภาณี จันทร์ศิริ, สิทธิชัย ใจขาน และธัญวรรณ คำใส. “พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานและการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กรณีศึกษาร้านรับซื้อของเก่าในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2561; 20(2): 116-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06