กระบวนการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคใน หน่วยบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พุฒิธร มาลาทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สมศักดิ์ ศรีภักดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, หน่วยบริการปฐมภูมิ, เครือข่ายบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการปฐมภูมิของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการปฐมภูมิ  ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูล และสถิติเชิงอนุมาน คือ Paired Sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการครั้งนี้ มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การศึกษาบริบทพื้นที่ 2.การจัดประชุมทำแผนปฏิบัติการ 3.การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 4.การนิเทศติดตาม 5.การประเมินตามมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการปฐมภูมิ 6.การเปรียบเทียบผล และ 7.สรุปปัญหา อุปสรรคกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอชำนิจังหวัดบุรีรัมย์มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ด้านความรู้ ด้านการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และยังส่งผลให้ผลการประเมินมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการปฐมภูมิ ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านเกณฑ์ในระดับดีเยี่ยม โดยสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการปฐมภูมิของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ คือ การอบรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมของคณะกรรมการการและการให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวโดยผู้บริหาร

References

1. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี. หลักสูตรเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2561, 2561.
2. โฆษิต อร่ามโสภา, สุภารัตน์ อร่ามโสภา. การพัฒนาคุณภาพระบบลูกโซ่ความเย็นวัคซีนของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคคปอส. พุทไธสง.วารสารองค์การเภสัชกรรม. 2556; 39(4): 3-13
3. ดวงจันทร์ จันทร์เมือง, ผงศ์พกา ภัณฑลักษณ์, มังกรอังสนันท์, ธีร์ธวัช รัตนวรวิเศษ, วิเชียร ชนะชัย. อุณหภูมิระบบลูกโซ่ความเย็นวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเขตนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. 2555; 18(3):37-45.
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สรุปผลการประเมินผลงานตามตัวชี้วัด ประจำปี 2560. จังหวัดบุรีรัมย์, 2560.
5. กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานสรุปผลประเมินมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในหน่วยบริการ จังหวัดบุรีรัมย์, 2559.
6. Kemmis, S, & Mc Taggart, R. (Eds.). The action research planner. 3rded. Geelong, Victoria: Deakin University Press, 1988.
7. Cronbach, L. J. Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika
1951; 16:297-334
8. อวยพร พิศเพ็ง. ผลของการประยุกต์การจัดการอย่างมีส่วนร่วม ร่วมกับแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กรณีศึกษาตำบล เมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
9. ศิริรัตน์ เตชะธวัช. มาตรฐานการดำเนินงานด้านการคลังและการเก็บรักษาวัคซีน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งซาติ; 2556





10. ประกันชัย ไกรรัตน์. การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลในการคัดแยกขยะมูลฝอย เขตเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]; มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: 2559.
11. กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีงบประมาณ 2560; 2560.
12. ภัทรสุดา แก่นแก้ว. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;1:62-69
13. ศุภานิช ธรรมทินโน. การพัฒนาระบบติดตามความครอบคลุมในการรับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปี ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-14