เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ปาริฉัตร ถาวรวงษ์
  • เกษรา วนโชติตระกูล
  • นรานุช ขะระเขื่อน
  • วิชชุตา มัคสิงห์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก , ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน , เด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

โรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่สำคัญโรคหนึ่ง ซึ่งอาการของโรคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าวัยอื่น การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับพฤติกรรมการดูแลช่องปาก และเปรียบเทียบปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอ  พระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 335 คน โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม พ.ศ.2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และใช้สถิติ t-test ในการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปใช้ Fisher’s Least Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟันส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ความรู้ในภาพรวมของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษา และรายได้ของผู้ปกครองแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ ควรจัดกิจกรรมรณรงค์ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองของเด็ก เด็กก่อนวัยเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

References

สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรอบรม อสม.เชี่ยวชาญ สาขาทันตสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.

กองทันตกรรม กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดกิจกรรม EAP การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี. [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563] เข้าถึงจาก http://hpe4.anamai.moph .go.th /hpe/data/ dent/EAP.

พัลลภา คุณาวิวัฒน์ และวันวิสาข์ แย้มเสนาะ. การดูแลทันตสุขภาพบุตรของมารดาที่ส่งผลต่อภาวะทันตสุขภาพของบุตรกรณีศึกษา ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2550

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-5 ปี. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2560.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานประจำปี 2562. นครศรีธรรมราช; 2562

โรงพยาบาลพระพรหม. รายงานประจำปี 2562. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช; 2562.

ธนากร โตกิ่งแก้ว และรุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวันเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล. 2559;27:51-62.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610. 1970

Bloom,Benjamin S.,et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

Best, J.W. Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall; 1977.

ปาริฉัตร ถาวรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2564;2:69-82.

อาอีเสาะ เพ็งมูซอ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียนในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2560.

อุฬาริกา โยสิทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพฟันเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา. [ปริญญา]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. 2558

สุนิภา ชินวุฒิ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. [รายงานวิจัย]. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. 2559.

ณฐพงศ์ คงใหม่, อุบลทิพย์ ไชยแสง, สลิล กาจกำแหง และนิวัติ ไชยแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลชะมวง อำเภอขวนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559;2:26-42.

เกตุวดี เจือจันทร์, อิชยา สินไชย, อรวรรณ นามมนตรี, อโนชา ศิลาลัย และหฤทัย สุขเจริญโกศล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะฟันผุของเด็กก่อนวัยอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2559;1:5-17.

สกาวรัต วงค์จันทร์ทิพย์. ความรู้และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเกิดโรคฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2558;17:103-109.

สุทธิรัศมิ์ พรรณพราว, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, อาริยา รัตนทองคำ และมุขดา ศิริเทพทวี. ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย อ.บรบือ จ.มหาสารคาม. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561;2:7-25.

วรพรรณ ถมยา. ระดับความรู้ ความเชื่อมั่นในความสามารถของตน และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพสำหรับเด็กของผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กฟันไม่ผุและฟันผุ เขตเทศบาลหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2559;21:28-36.

พัชรี เรืองงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2556;18:9-22.

รพีพรรณ เพชรรัตน์. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุของเด็กวัย 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปกร. 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31