ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มิรันตี แพงงา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิรพรกุล
  • กมล ศรีสว่างวงศ์
  • เนาวรัตน์ มณีนิล

คำสำคัญ:

ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากขาดการควบคุมความดันโลหิตต่อเนื่อง ทำให้หลอดเลือดแดงประสิทธิภาพลดลงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาแบบ Unmatched Case-Control ใช้ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 กลุ่มศึกษา คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวนกลุ่มละ 111 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยสถิติแบบ Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่น ๆ พบว่า ระยะเวลาที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.05) พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 5-9 ปีและ 10 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็น 5.14 และ 17.18 เท่า ของผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่า 5 ปี (ORadj=5.14, 95%CI; 1.72 – 15.45), (ORadj=17.18, 95%CI; 6.45 – 45.8), (P<0.001) ดังนั้นจึงควรพัฒนามาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะกลุ่มที่ป่วยตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไปและมีการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข, 2562.

World Health Organization [WHO]. Noncommunicable Diseases [online]. 2019 [cited 2020 sep 7 ].Available form: https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/noncommunicable-diseases.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. นิยามโรคความดันโลหิตสูง [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/information.html.

กองโรคไม่ติดต่อ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต[ออนไลน์]. 2560 [อ้างเมื่อ 22 กันยายน 2563] เข้าถึงได้จาก:http://www.thaincd.com/document/file/download/leaflet/download1no275.pdf

ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช. ความรู้เบื้องต้นโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลศิริราช; 2557.

เอนกพงศ์ ฮ้อยคำ, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2563; 14(2): 82-92.

ณฐกร นิลเนตร, ชนัญญา จิระพรกุล และเนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสุขศึกษา 2561; 41(1): 62-75.

Schlesselman J.J. Case-Control Studies Design, Conduct Analysis. New York: Oxford University Press; 1982.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06