ประสิทธิผลของรูปแบบสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ตอำเภอปัวจังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, สามเณรบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในสามเณร ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อ การตัดสินใจทางสุขภาพ การจัดการตนเอง และพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 111 รูป ได้แก่ สามเณรที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ รูปแบบสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในสามเณร, แบบสอบถามแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพสามเณร 4) พฤติกรรมสุขภาพสามเณร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบผลการศึกษาด้วยสถิติทดสอบที (Paired t – test)
ผลการวิจัยพบว่าหลังสิ้นสุดการได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ สามเณรมีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพเพิ่มขึ้นเป็นระดับดี คิดเป็นร้อยละ 72.10 ของคะแนนเต็ม ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับถูกต้องที่สุด คิดเป็นร้อยละ 94.87 ของคะแนนเต็ม พฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก (= 85.35, S.D.=4.33) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย พบว่า หลังการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพสามเณรมีความรอบรู้ทางสุขภาพภาพรวม ความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพสามเณร และสามเณรมีรอบเอวลดลงกว่าก่อนการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้สามเณรควรได้รับการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในสามเณรอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น
References
2. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออนามัยสามเณร. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2556.
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรองส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุขและคลินิก DPAC (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
4. พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ไทยาภิรมย์ และพระชินภัทร ชินภทฺโทพิมพาภรณ์. กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพสามเณร โรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์. วารสารพยาบาล, 2556; 40 (พิเศษ): 57-66.
5. พระอรรถชัย ปริญฺญาโณ, ไพรัตน์ ฉิมหาด และ กันตภณ หนูทองแก้ว. แนวทางการจัดการสุขภาวะของพระภิกษุ-สามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2563; 7(4): 46-57.
6. กรมอนามัย. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School : HLS). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.
7. Kemmis, S. Action research as a practice based practice. Educational Action Research, 2009; 17(3): 463-474.
8. กองสุขศึกษา. กลยุทธ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด; 2561.
9. กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 แยกรายเขตสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewt_ dl_link.php?nid=2424
11. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ถึงเวลาพัฒนาสุขภาพเด็กไทย แนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแลพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพานิชย์; 2561.
12. อาเนช โออิน. ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารการวิจัยการพัฒนาการบริหาร, 2559; 9(1): 113-132.
13. Edwards, M. Wood, F. Davies, M. & Edwards, A. The development of health literacy in patients with a long – term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health, 2012; 14: 120-130.
14. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2562.
15. World Health Organization; WHO. [Internet]. MONITORING THE BUILDING BLOCKS OF HEALTH SYSTEMS: A HANDBOOK OF INDICATORS AND THEIR MEASUREMENT STRATEGIES. 2010. [Cited 2020 April 5]. Available from: https://www.who.int/ healthinfo/systems/WHO _MBHSS_2010_full_web.pdf