ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของประชาชนวัยทำงานอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • วิทยา ศรแก้ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอช้างกลาง
  • วัลลภา ดิษสระ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราชคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, โรคไข้เลือดออก, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุม

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีจำเป็นต้องดำเนินงานป้องกันและควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการระบาด บุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก รวมไปถึงการอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับทัศนคติ ระดับพฤติกรรม และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนวัยทำงานอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกลุ่มตัวอย่าง 282 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม –เมษายน 2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Odds Ratio, 95% CI และ Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่เหมาะสม ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา และความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะ  เนื่องจากยังพบว่าพฤติกรรมส่วนบุคคลของประชาชนวัยทำงานที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้นควรให้ความรู้ที่ต่อเนื่อง เน้นย้ำให้ประชาชนป้องกันตนเอง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. นนทบุรี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2562.

ชลิต เกตุแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558; 2:24-36.

ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และจเด็ด ดียิ่ง. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคี เครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2558;10(2), 84-91.

หาญณรงค์ แสงแก. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 2558; 10(1), 65-81.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. นนทบุรี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2562. นครศรีธรรมราช. 2562

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง. รายงานประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562. นครศรีธรรมราช. 2562.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง. รายงานประจำปี 2562. นครศรีธรรมราช. 2562.

ชมพูนุช อินทศรี, ภัคจิรา สาระวงษ์, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และดวงใจ เอี่ยมจ้อย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนบ้านคลองบางนา ตำบลศีรษะจระเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560;3(1):43-51.

Bloom, Benjamin S.,et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

Best, J.W. Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall; 1977.

สิวลี รัตนปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชพฤกษ์, 2561;16(2):87-96.

ธนกฤต นุ้ยกูลวงศ์. พฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกของประชาชน กรณีศึกษา: อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์นี้สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2558.

ธนะรัชต์ งอบโพธิ์, พุฒิพงศ์ มากมาย, รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, วลัยลักษณ์ พันธุรี และกัญญกาญจน์ ไซเออร์ส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2564;7(1):253-268.

จารุวรรณ์ วงบุตดี, วัชรพงษ์ แสงนิล และนันทยา กระสวยทอง. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2552;18(2):272-279.

จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ศรีบุญทิพย์ และอภิรดี วังคะฮาต. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในประชาชนพื้นที่ชายแดนไทย-สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา : การวิจัยเชิงคุณภาพ, 2561;20(1):46-55.

วัชระ กันทะโย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 2556;9(2):63-79.

ชนิดา มัททวางกูร, ปรียานุช พลอยแก้ว, อโนทัย ถวัลย์เสรีวัฒนา, อัมพร สิทธิจาด และธำรงเดช น้อยสิริวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 2560;18(34):34-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15