ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

ผู้แต่ง

  • จิระภา ขำพิสุทธิ์ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทริ์น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคโตวิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรค โควิด 19 และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาการศึกษาปฐมวัย และสาขาการประถมศึกษา จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกันความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r =.635) โดยข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนําไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ อันนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพ และการป้องกันโรคที่เหมาะสมต่อไป

References

1. ศูนย์ปฎิบัติการณ์ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
ฉบับที่ 545 วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 12.00 น [อินเตอร์เน็ต].2564.[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม
2564].เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-
no545-010764.pdf.
2. ราชกิจจานุเบกษา. ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกาหนดการบริหารราชการใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) [อินเตอร์เน็ต].2564.[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564].เข้าถึง
ได้จาก: http://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2020/05/CV19-08.pdf.
3. ประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่องมาตรการและการเฝ้าระวังการ
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 3 [อินเตอร์เน็ต].2564.[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม
2564].เข้าถึงได้จาก:https://www.ops.go.th/ main/images/2563/muaAdmin/corona/
COVID_3.pdf
4. World Health Organization. (2009). Health Literacy and Health Promotion. Definitions,
Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual
Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health
Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya
5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท
ดีไซร์จำกัด.
6. Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary
health education and communication strategies into the 21st century, Health
Promotion International. [Online]. Available from: [cited 2021 July 1]. Available from:
https://academic.oup.com/heapro/article/15/3/259/551108/Health-
7. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
12 พ.ศ.2560-2564 [อินเตอร์เน็ต].2564.[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564].เข้าถึงได้จาก:
https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
8. กองสุขศึกษา. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์.
9. พนม คลี่ฉายา. การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัย
จากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง. [อินเตอร์เน็ต].2564.[เข้าถึง
เมื่อ 1 กรกฎาคม 2564].เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4899?
locale-attribute=th
10 Zhang, M., Zhou, M., Tang, F., Wang, Y., Nie, H., Zhang, L., & You, G. (2020). Knowledge,
attitude, and practice regarding COVID-19 among healthcare workers in Henan,
China.The Journal of Hospital Infection, 105(2), 183-187. doi: 0.1016/j.jhin.2020.04.012.
11. Zhong, B. L., Luo, W., Li, H. M., Zhang, Q. Q., Liu, X. G., Li, W. T., & Li, Y. (2020).
Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents
during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional
survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745–1752. doi: 10.7150
/ijbs.45221
12. ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรค
อ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับ
บัณฑิตศึกษา l ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15