การประเมินความพร้อมการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วราลักษณ์ ล้อมฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพจน์ คำสะอาด
  • กฤษณะ สุกาวงค์
  • จุฑาทิพย์ ไพรเรืองโสม

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา, ทฤษฎีระบบ, การประเมินความพร้อม, การเฝ้าระวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพร้อมการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต การสะท้อนกลับข้อมูลและเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร  โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ผู้บริหาร 20 คน เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 18 คน และประชาชนทั่วไป อายุ 18-60 ปี 356 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา อำเภอวานรนิวาส มีความพร้อมในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในด้านปัจจัยนำเข้า 6 ประเด็น ด้านกระบวนการ 6 ประเด็น ด้านผลผลิต 4 ประเด็น และด้านการสะท้อนกลับข้อมูล 2 ประเด็น ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เกณฑ์ร้อยละ 80.0 แต่ในด้านกระบวนการประเด็นทรัพยากร ด้านงบประมาณ ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 66.7 ปัญหาอุปสรรคคืองบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอสนับสนุนการดำเนินงานได้ตลอดทั้งปี อำเภอวานรนิวาสมีความพร้อมในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและการสะท้อนกลับข้อมูล ส่งผลให้ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาเพิ่มในพื้นที่ ปัญหาอุปสรรค ด้านงบประมาณและความตระหนักของประชาชน ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงานตลอดทั้งปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของประชนชนต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2559). ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง โรคไข้ซิกา (Zika virus disease). ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จากhttp://elib.ddc.moph.go.th

/pdf/zika_virus_disease_220159_1453788683.pdf

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2563. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จากhttps://ddc.moph.go.th/dvb/news.php?news=694&deptcode=dvb

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: บุคพอยท์.

เก่งกาจ อุ่นฤทธิ์, ชฤมนต์ อภิวัฒนพร, ธนพล ลิรัฐพงศ์ และคณะ. (2548). พฤติกรรม การป้องกันและควบคุม ไข้เลือดออก ของประชากรในบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 14. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรีแพทย์ศาสตรบัณฑิต สาขาแพทย์ศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกษร แถวโนนงิ้ว, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์ และวันทนา กลางบุรัมย์. (2560). การประเมินความพร้อมระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระดับจังหวัดและอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7 : กรณีศึกษาการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ปี 2559. วารสารควบคุมโรค, 43 (3): 316-328.

สุริยา มนตรีภักดิ์. (2550). บทบาทของผู้บริหารหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของข้อบังคับคุรุสภา 2548 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพชรบุรีเขต 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นันทิยา เมฆวรรณ และสมเดช พินิจสุทร. (2556).ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(3): 91-104.

อนุสรณ์ มีผิว. (2554). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ ประชาชน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาอิสระทางสาธารณสุข สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22