พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พุฒิพงศ์ มากมาย คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย , ผู้สูงอายุ, ปัจจัยนำ , ปัจจัยเอื้อ , ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ประชากรคือผู้สูงอายุ จำนวน 1,220 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่าง 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล, ด้านความรู้, ด้านทัศนคติ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, และพฤติกรรมการออกกำลังกาย นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.704 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า ด้านความรู้ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 42.33 ด้านทัศนคติมีอยู่ในระดับสูงร้อยละ 90.67 ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับสูงร้อยละ 94.33  ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 95.00 พฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 63.67 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ด้านความรู้และด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.143, p-value=0.013 และ r = 0.133, p-value=0.021 ตามลำดับ) ปัจจัยเอื้อไม่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (r = -0.041, p-value=0.477) และปัจจัยเสริมไม่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (r = -0.001, p-value=0.982) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และกระตุ้นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยผ่านสื่อหลากหลายวิธี สนับสนุนอุปกรณ์การออกกำลังกายให้เพียงพอ และบุคคลรอบข้างควรกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

References

World Health Organization. Aging and Working Capacity. Geneva: World Health Organization, 1993.

สำนักนโยบายและแผน. สถิติสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข, 2562.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปีพ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; [เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก_61.pdf.

Green, L. & Kreuter, M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th Edition, McGraw Hill, New York, 2005.

Daniel, W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons, 1995.

Bloom, Benjamin S. Taxonomy of Education Objective. Hand Book 1: Cognitive Domain. New York: David Mc.Kay, 1975.

Good, Carter V. Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book, 1973.

สมบัติ กาวิลเครือ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 2560, 7(3), 161-173.

Rosenberg, R.J. and Hovland,C.I. Attitude Organization and Change : And Analysis of Consistency Among Attitude Components. Wesport: Greenwood Press, 1960.

ธาริน สุขอนันต์ และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2557, 9(2), 66-75.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 2561, 21(42), 55-64.

นวพร ศิริสม, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, และมณฑา เก่งการพานิช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของข้าราการสำนักที่ปฏิบัติงานภายในเขตสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 2557, 30(1), 34-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31