ความผิดปกติของการกินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิง ของพื้นที่รับผิดชอบของเขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • อภิชิต ศรีอวน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา มุกตพันธุ์

คำสำคัญ:

ความผิดปกติของการกิน, ความผิดปกติของการกิน, วัยรุ่นหญิง, นักเรียนมัธยมปลาย, ความภาคภูมิใจในตนเอง, การรับรู้รูปร่างตนเอง, นักเรียนมัธยมปลาย

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันโรคความผิดปกติของการกินพบเพิ่มมากขึ้นในวัยรุ่นเพศหญิง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของการกินของนักเรียนวัยรุ่นหญิง เขตสุขภาพที่ 8 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ความภาคภูมิใจในตนเอง การรับรู้รูปร่างตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ด้านเพื่อน ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง ประเมินความผิดปกติของการกินโดยใช้แบบประเมิน Eating Attitude Test-26 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่าง ๆ กับความผิดปกติของการกิน โดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 16.6 ± 0.9 ปี ความชุกของความผิดปกติของการกินของกลุ่มตัวอย่างพบร้อยละ 14.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของการกินของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รายได้ของผู้ปกครองมากกว่า 15,000 บาท/เดือน (Adjusted OR [ORadj]: 2.5, 95% CI : 1.33- 4.84) การรับรู้รูปร่างตนเองว่าอ้วนกว่าการประเมิน (ORadj : 1.9, 95% CI : 1.01-3.73) ความภาคภูมิใจในตนเองระดับต่ำ-ปานกลาง (ORadj: 7.6, 95% CI : 1.65-34.76) กลุ่มที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง-สูง ของปัจจัยด้านครอบครัว (ORadj: 2.6, 95% CI : 1.16-5.97) ด้านเพื่อน ( ORadj: 4.7, 95% CI : 2.42-8.93) และ ด้านการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรูปร่าง (ORadj : 8.8, 95% CI : 2.56-29.99) ข้อสรุปของงานวิจัยพบว่า : นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความเสี่ยงของผิดปกติของการกินในอัตราที่มากกว่าในการศึกษาที่ผ่านมา ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการมีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปร่าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของการกินในระดับรุนแรงต่อไป

References

ธนทัต แซ่เล้า, กัญญารัตน์ พุทธรรม, วรัญญา เตชะสุขถาวร, ฐนิต วินิจจะกูล. โรคความผิดปกติในการกินในช่วงวัยรุ่นจากมุมมองนักกำหนดอาหาร. วารสารโภชนบำบัด. 2563;28(1):40–56.

Wood S, Marchant A, Allsopp M, Wilkinson K, Bethel J, Jones H, et al. Epidemiology of eating disorders in primary care in children and young people: a Clinical Practice Research Datalink study in England. BMJ Open. 2019 Aug 1;9(8):e026691.

Pike KM, Hoek HW, Dunne PE. Cultural trends and eating disorders. Current Opinion in Psychiatry [Internet]. 2014;27(6). Available from: https://journals.lww.com/co-psychiatry/Fulltext/2014/11000/Cultural_trends_and_eating_disorders.10.aspx

Garner DM, Olmsted MP, Bohr Y, Garfinkel PE. The Eating Attitudes Test: psychometric features and clinical correlates. Psychological Medicine. 2009/07/09 ed. 1982;12(4): 871-878.

ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, พรจิรา ปริวัชรากุล, วันรวี พิมพ์รัตน์. การศึกษาความแม่นตรงของแบบประเมิน Eating Attitudes Test-26 (EAT-26) ฉบับภาษาไทยในหญิงไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2556;58(3): 83–96.

อาภาภรณ์ พึ่งยอด, ปราโมทย์ สุคนิชย์. ความชุกและทัศคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56(2):149–158.

Pattanathaburt P, Somrongthong R, Thianthai C. Prevalence of disordered eating behaviors, body image dissatisfaction, and associated factors among Thai female undergraduate students. null. 2013 May 1;51(3):151–160.

ศิราดา จิตติวรรณ, ปราโมทย์ สุคนิชย์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะติดเฟสบุ๊คกับทัศนคติและพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติของ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62(2):117–128.

อารี บินทปัญญา, อรพินทร์ ชูชม, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. ผลกระทบและแนวทางการป้องกันพฤติกรรมการกินผิดปกติในมุมมองทางพฤติกรรมศาสตร์ Impact and Prevention Guidelines for Eating Disorders from Behavioral Science Perspectives. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 2562;11(2):3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. ข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ [Internet]. 2563 [cited 2020 Oct 30]. Available from: https://data.bopp-obec.info/emis/area_school.php

กนกวรา พวงประยงค์, สานิตย์ หนูนิล. สังคมชนบทไทยสมัยใหม่กับปัจจัยกำหนดวิถีการดำเนินชีวิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2018;44(2):34–64.

พงเดษ์เดช สารการ. ชีวสถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล : STATA10. พิมครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

Wongpakaran T, Wongpakaran N. A comparison of reliability and construct validity between the original and revised versions of the Rosenberg Self-Esteem Scale. Psychiatry Investig. 2012/01/25 ed. 2012 Mar;9(1):54–8.

Best JW. Research In Education 3rded; Englewood Cliff. 1995;

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6-19 ปี. นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด; 2564.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, สมบัตร ทีฑทรัพ. ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัดมหาชน, 2560.

สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์, 2553.

Matthiasdottir E, Jonsson SH, Kristjansson AL. Body weight dissatisfaction in the Icelandic adult population: a normative discontent? European Journal of Public Health. 2012 Feb 1;22(1):116–121.

เบญจา มุกตพันธุ์. โภชนาการสำหรับคนวัยต่างๆ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2542.

Keski-Rahkonen, Linda Mustelin. Epidemiology of eating disorders in Europe : prevalence, incidence, comorbidity, course, consequences, and risk factors. Wolters Kluwer Health. 2016;29(6): 340-345.

Wang K, Liang R, Ma Z, Chen J, Cheung EF, Roalf DR, et al. Body image attitude among Chinese college students. PsyCh journal. 2018;7(1):31–40.

Coopersmith S. Coopersmith Self-esteem Inventories: SEI. Consulting Psychologists Press; 1981.

Alfoukha MM, Hamdan-Mansour AM, Banihani MA. Social and Psychological Factors Related to Risk of Eating Disorders Among High School Girls. The Journal of School Nursing. 2017 Oct 26;35(3): 169-177.

Gan WY, Mohamad N, Law LS. Factors associated with binge eating behavior among Malaysian adolescents. Nutrients. 2018;10(1):66.

ศิริไชย หงษ์สงวนศรี. ความผิดปกติในการกิน. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิช,. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

ประไพวรรณ ภูมิวุฒิสาร. วัยเด็กและวัยรุ่น. ใน: โยธิน ศันสนยุทธ, จิตวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2533.

Keery H, van den Berg P, Thompson JK. An evaluation of the Tripartite Influence Model of body dissatisfaction and eating disturbance with adolescent girls. Body Image. 2004 Sep 1;1(3):237–251.

Ata RN, Ludden AB, Lally MM. The Effects of Gender and Family, Friend, and Media Influences on Eating Behaviors and Body Image During Adolescence. Journal of Youth and Adolescence. 2007 Nov 1;36(8): 1024-1037.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06