ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • แก้วใจ มาลีลัย
  • ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์
  • สาวิตรี สุมาโท
  • ศตายุ ผลแก้

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, นักศึกษา

บทคัดย่อ

         สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีแนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลง การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดความรู้และแบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ด้วยวิธี KR-20 เท่ากับ 0.90 แบบสอบถามเจตคติและพฤติกรรมหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.89 และ 0.85 ตามลำดับ เก็บข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.29 อายุเฉลี่ย 20.71 ปี (S.D.=1.55) และไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระดับปานกลางร้อยละ 95.59 ( =0.58, S.D.=0.35) เจตคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระดับดีร้อยละ 74.12 ( =3.61, S.D.=1.23) พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระดับดีร้อยละ 83.24 ( =3.91, S.D.=1.32) พฤติกรรมที่ดีที่นักศึกษาปฎิบัติเป็นประจำคือสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องพบปะผู้คน ความรู้และเจตคติมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้นักศึกษามีพฤติกรรมที่ดีในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รวมทั้งการส่งเสริมให้ความรู้และเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในสถานศึกษา

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 [เข้าถึงเมื่อ 4 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf

Khasawneh AI, Humeidan AA, Alsulaiman JW, Bloukh S,Ramadan M, Al-Shatanawi TN, Awad HH, et al. Medical Students and COVID-19: Attitudes, and Precautionary Measures. A Descriptive Study

from Jordan. Front. Public Health. 8: 253.1-9; 2020.

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. 2020.[cited 2021 July 10]. Available from:

https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

Güner R., Hasanoglu I., Aktas F. COVID-19: Prevention and control measures in community. Turk J Med Sci. 50(SI-1): 571-577; 2020.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพ: พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การแกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2563.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี บุญมา สุนทราวิรัตน์. แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7(1):16-34;2563

อวาทิพย์ แว. COVID-19 กับการเรียนรู้สู่กาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 35(1): 24-29; 2563.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019.[เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

Peng Y, Pei C, Zheng Y, Wang Y, Zhang K, Zheng Z et al. A cross-sectional survey of knowledge, attitude and practice associated with COVID-19 among undergraduate students in China. BMC Public Health. 20: 1292; 2020.

อภิญญา อิงอาจ ณัฐพร กาญจนภูมิ พรพรรณ เชยจิตร. ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร. 17(2): 95-113; 2563.

บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้น ปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(37): 179-195; 2564.

Elhadi M, Msherghi A, Alsoufi A, Buzreg A, Bouhuwaish A, Khaled A et al. Knowledge, preventive behavior and risk perception regarding COVID-19: a self-reported study on college students. Pan Africa Medical Journal. 35(2): 75.1-10; 2020.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(4): 158-168; 2563

White, M. S., Omer, D. M., & Mohammad, D. G. N. Knowledge, Attitude and Practice on Prevention of Airborne and Droplet Infections During the Outbreak of Corona Virus among the College Students in University of Bisha, Saudi Arabia.

International Journal of Contemporary Research and Review, 11(04): 20773–20776; 2020.

พัสกร องอาจ, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19:กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 7(1): 87-102; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-23