ปัจจัยทำนายการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย , ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู , การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู , การสนับสนุนจากครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำนายการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูจาก 3 อำเภอ ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 266 คน ซึ่งได้จากการสุ่มด้วยวิธีแบบแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วย ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2562 วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์โดยการใช้สถิติการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายโดยการใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 51.13 ระดับปานกลาง ร้อยละ 42.86 และระดับน้อย ร้อยละ 6.01 โดยมีปัจจัยระยะเวลาที่ป่วย ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ภาวะสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนจากชุมชน และการสนับสนุนจากระบบบริการสุขภาพ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ปัจจัยระดับบุคล ด้านการสนับสนุนจากครอบครัว สามารถทำนายการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู จังหวัดสมุทรสาคร ได้ร้อยละ 74.00 (R2 = 0.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ดังนั้น การสนับสนุนจากครอบครัวจึงสำคัญมากที่จะช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูดีขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสร้างศักยภาพพัฒนาความรู้ สนับสนุนอุปกรณ์แก่สมาชิกในครอบครับเพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูต่อไป
References
เอกสารอ้างอิง (References)
Sacco RL, Kasner SE, Broderick JP, Caplan LR, Connors JJ, Culebras A, et al. An updated definition of stroke for the 21st century: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2013;44:2064-89.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บประจำปีปฏิทิน พ.ศ. 2558-2559 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค.กองโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564].เข้าถึงได้จาก : http://www.thainc d.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1020&searchText=&pn=2
ทักษพล ธรรมรังสี. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. นนทบุรี: สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health policy Program); 2557.
Warlow CP, Al-Shahi R, Bhattacharya JJ, Currie DG, Papanastassiou V, Ritchie V, et al. Prospective, population-based detection of intracranial vascular malformations in adults: the Scottish Intracranial Vascular Malformation Study (SIVMS). Stroke 2003; 34:1163-9.
Horak FB. Postural orientation and equilibrium: what do we need to know about neural control of balance to prevent falls?. Age Ageing 2006;35 Suppl 2:S7-S11.
De Nunzio AM, Zucchella C, Spicciato F, Tortola P, Vecchione C ,Pierelli F, et al. Biofeedback rehabilitation of posture and weightbearing distribution in stroke: a center of footpressure analysis. Funct Neurol 2014;29:127-34.
Tessem S, Hagstrom N, Fallang B. Weight distribution in standing and sitting positions, and weight transfer duringreachingtasks, inseatedstroke subjects and healthy subjects. Physiother Res Int 2007;12:82-94.
Cifu DX, Stewart DG. Factors affecting functional outcome after stroke: a critical review of rehabilitation interventions. Arch Phys Med Rehabil 1999; 80: 35-9.
Paolucci S, Antonucci G, Pratesi L, Traballesi M, Lubich S, Grasso MG. Functional outcome in stroke inpatient rehabilitation: predicting no, low and high response patients. Cerebrovas Dis 1997; 8: 228-34.
กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง (Hemiplegic Stroke) แบบผสมผสาน.กรุงเทพฯ :กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2553.
สมนึก สกุลหงส์โสภณ สิริวรรณ อนันตโชค กฤษณี โหลสกุล. ปัจจัยบางประการความสามารถในกิจวัตรประจำวันและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอัมพาตจากหลอดเลือดสมองที่บ้าน. ว. การพยาบาลและการศึกษา 2554; 4(2):36-52.
สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Subacute Rehabilitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ :ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แห่งประเทศไทย; 2559.
บุณฑริก ค้าขาย. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรสาคร. รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2559. สมุทรสาทร:สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร; 2559.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-
McLeroy KR, Bibeau D, Steckler A, Glanz K. An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly. 1988; 15: 351 – 377.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท;2551. อ้างจาก Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons 1995.
ปนัดดา ภักดีวิวัธ สุนทรา เลี้ยงเชวงวงศ์ สมบัติ มุ่งทวีพงษา. ปัจจัยทำนายการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในระยะ 1 ปีแรก. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19:185-93
อุ่นเรือน ศรอากาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของสมาชิกครอบครัวผู้ดูแล. J Health Res 2559; 9: 86-93.