มาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี ไชยมาตย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสนางคนิคม
  • จักรพงษ์ พระสุรัตน์

คำสำคัญ:

มาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน, อุบัติเหตุจราจร, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษามาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ทำการศึกษาในประชากรนักเรียนที่ขับขี่จักรยานยนต์มาโรงเรียน จำนวน 115 คน มีผู้ร่วมดำเนินการวิจัย คัดเลือกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโรงเรียนและชุมชน จำนวน 48 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน/ครู 2 คน แกนนำนักเรียน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียน 12 คน ผู้นำชุมชน 14 คน เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน ตำรวจ 2 คน และช่างซ่อมจักรยานยนต์ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ T-TEST ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้มาตรการความปลอดภัยด้านจราจรโรงเรียนเสนางคนิคมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่วมวิจัยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยทุกกิจกรรม ตั้งแต่ร่วมรับฟัง ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมสรุปประเมินผล ซึ่งทำให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในโรงเรียนและชุมชน 2) ผลของมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หลังดำเนินการพบว่า มีนักเรียนอาสาสมัครจราจรประจำถนนจุดเสี่ยงในโรงเรียนและชุมชนทำหน้าที่กวดขันวินัยจราจรของนักเรียน นักเรียนขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 100.0 ไม่มีนักเรียนซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ผลลัพธ์หลังการประยุกต์ใช้รูปแบบนี้ พบว่า ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ด้านกฎหมายจราจรและพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงในการขับขี่ที่เกิดจามมนุษย์มากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะการวิจัย การนำมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไปใช้นั้น ควรศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาในพื้นที่ เนื่องจากบริบทของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยของความสำเร็จ

References

1. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. หยุดอุบัติเหตุบนถนนทั่วโลก. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. Retrive form: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/tonkit31.pdf
2. ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ และคณะ. หยุดเด็กและเยาวชนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนน นโยบายสาธารณะ public policy กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
3. โรงพยาบาลเสนางคนิคม. ระบบรายงานข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุจราจร TEA unit. อำนาจเจริญ; 2563
4. วิรัติ ปานศิลา และคณะ. (2551). รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในการบริโภคอาหารของชาวอีสาน. มหาวิทยาลัยสารคาม, 2551.
5. Perneger TV. The Swiss cheese model of safety incidents: are there holes in the metaphor?. BMC Health Serv Res. 2005;5:71. Published 2005 Nov 9. doi:10.1186/1472-6963-5-71
6. The Role of Human Factors in Improving Aviation Safety; [อินเทอร์เน็ต]. 2563. Retrive form: http://www.boeing.com/commercial/aeromagazine/aero_08/h
7. Dale, E. (1969). Audio-Visual Methods in Teaching (3rd ed., p. 108). Holt, Rinehart & Winston, New York: Dryden Press. https://www.researchgate.net/figure/283011989_fig1_Figure-2-Edgar-Dale-Audio-Visual-Methods-in-Teaching-3rd-Edition-Holt-Rinehart-and
8. ปานชีวา ณ หนองคาย. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2551.
9. ศักรินทร์ ทองภูธรณ์. ประสิทธิผลของการใช้ โปรแกรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐาน ศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06