การศึกษาจารีตบุญเดือนหกของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวในราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
จารีตบุญเดือนหก , การสาธารณสุข , บุญบั้งไฟ , กลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวบทคัดย่อ
การศึกษาจารีตบุญเดือนหกของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรไทยและในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจารีตประเพณีของบุญเดือนหกเพื่อฟื้นฟูนิเวศวิทยาวัฒนธรรมและหมู่บ้านสาธารณสุขแบบอย่าง ในราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ตามแนวทางคลิปฟอร์ด เกียร์ซ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึก คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ในจังหวัดยโสธร ราชอาณาจักรไทย จำนวน 25 คน และแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว 25 คน ระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2561-2564 ผลการศึกษา พบว่า บั้งไฟ เป็นประดิษฐกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยปรับเปลี่ยนอุตุนิยามในเดือนหก ทั้งพีชนิยามและจิตนิยามมีปฏิสัมพันธ์กับคติชนวิทยาในงานวิจัยนี้เรียกรวมว่า จารีตเดือนหกหรือฮีตเดือนหก ประกอบด้วย กฎธรรมชาติที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องหรืออิทัปปัจจยตา กฎธรรมชาติที่สมดุลกันและกฎธรรมชาติที่เป็นคู่ปรับกัน ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างอุตุนิยามกับจิตนิยาม (วิญญาณ) แสดงเชิงประจักษ์การเกี่ยวเนื่องของเหตุปัจจัยระหว่างดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ฟ้า เมฆ หมอก ฝน พืชและจิตวิญญาณ เป็นจุดเวลาของการเริ่มต้นใช้ชีวิตสอดคล้องกฎธรรมชาติ (นิยาม5) ส่วนการฟื้นฟูระบบนิเวศทางวัฒนธรรม การผลิตอาหารและยาเพื่อการสาธารณสุขควรยึดถือหลักธรรมะในอังคุตตรนิกายว่า กรรมเป็นเหมือนนาข้าว วิญญาณเป็นเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก ตัณหาเป็นเหมือนยางในเมล็ดข้าว กล่าวคือ 1) ชุมชนที่ประกอบกรรมดีด้วยศีลบริสุทธิ์ในฮีตเดือนหก ฝนฟ้าอากาศอำนวย ผืนนา เมล็ดข้าวคือจิตวิญญาณที่เจริญงอกงาม 2) ฟ้าและฝนมีนัยสำคัญต่อชุมชนเกษตรกรรม ควรสร้างกระแสค่านิยมให้วัดเป็นศูนย์กลางกิจกรรมฮีตคอง ควรใช้ตัวชี้วัดหมู่บ้านศีล 5 เพิ่มประสิทธิภาพการปกครอง และการสาธารณสุขควรฟื้นฟูอาหารพื้นบ้านบางอย่างให้ชุมชนบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดี
References
สุภาณี ธงไชย. ความเชื่อและจักรวาลทัศน์ฟ้า – ขวัญ – เมือง มีความสัมพันธ์ต่อ
ภูมิเทคโนโลยีเพื่อสุขภาวะผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วิทยานิพนธปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตรการพัฒนาภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร, 2555.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.
สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “ฐานข้อมูลฮีต12คอง14.” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :https://cac.kku.ac.th/heet12_kong14/main_heet12.html สืบค้น 16 เมษายน 2564, 2559.
สมศักดิ์ จันทร์โพธิ์ศรี. ประมวลประเพณีมงคลไทยอิสาณ. กรุงเทพฯ : ธรรมบรรณาคาร, 2500.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต), 2559.
พุทธทาสภิกขุ. พจนานุกรมธรรม ฉบับพุทธทาส. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม, 2554.
อัจฉรา ภาณุรัตน์. ภูมิปัญญาและชาติพันธ์วรรณา. สุรินทร์ : รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท, 2556.
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. อังคุตตรนิกาย. กรุงเทพฯ : 2525.
Clifford, G. The Interpretation of Cultures. New York: Basic book, 1973.