ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 หลังการฉีดวัคซีน ในบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และ 8

ผู้แต่ง

  • แพรพรรณ ภูริบัญชา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • อนุวัฒน์ ศรสมฤทธ์
  • ยุวลี ฉายวงศ์

คำสำคัญ:

ระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 , บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

บทคัดย่อ

 

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 (Anti-SARS-CoV-2) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 และ 8 กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 385 คน ดำเนินการตั้งแต่ ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2564  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากระบบฐานข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ที่ตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันชนิดโปรตีนหนาม (Anti-Receptor binding domain Spike Protein : Spike RBD) โดยวิธี Electrochemiluminescence Immunoassay (ECLIA: Elecsys Cobas e601. Roche Diagnostic, Ltd) ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม หรือภายหลังฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster dose) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression  ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.9 อายุเฉลี่ย 39.6 ปี ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง ร้อยละ 77.7  ผลการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับภูมิคุ้มกันชนิด Spike RBD ในระดับที่สามารถยับยั้งไวรัสเข้าเซลล์ได้ (>15 U/mL) ร้อยละ 62.3 และระดับที่สามารถใช้บริจาคได้ (>132 U/mL) ร้อยละ 33.3 เมื่อจำแนกชนิดของวัคซีนที่ได้รับ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีน Sinovac เข็ม 1 และ 2 มีระดับภูมิคุ้มกันชนิด Spike RBD ในระดับ > 15 U/mL ร้อยละ 76.2 และระดับ > 132 U/mL ร้อยละ 18.3 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็ม 1 และ 2 มีระดับภูมิคุ้มกันชนิด Spike RBD ในระดับ > 132 U/mL ร้อยละ 96.3 ซึ่งปัจจัยด้านเพศ อายุ การมีโรคประจำตัว และค่าดัชนีมวลกาย ไม่มีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันต่อ Spike RBD  และ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีน Pfizer อย่างน้อย 1 เข็ม จะมีระดับมิคุ้มกันชนิด Spike RBD ตั้งแต่ 132 U/mL ขึ้นไป เป็น 197.4 เท่า (95% CI = 23.2–1677.0) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน Pfizer อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) 

References

Rothan HA, Byrareddy SN, The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak. J Autoimmune 2020; 109(26): 102433.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, สิงหาคม 2564.

ฐานข้อมูล MOPH Immunization Center สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564.

Wu K, Werner AP, Koch M, Choi A, Narayanan E, Stewart-Jones GBE, et al. Serum Neutralizing Activity Elicited by mRNA-1273 Vaccine. N Engl J Med 2021;384:1468-70.

Shinde V, Bhikha S, Hoosain Z, Archary M, Bhorat Q, Fairlie L, et al. Efficacy of NVX-CoV2373 Covid-19 Vaccine against the B.1.351 Variant. N Engl J Med 2021;384:1899-909.

Public Health of England. Effectiveness of COVID-19 vaccines against hospital admission with the Delta (B.1.617.2) variant. Available from: https://khub.net/web/phe-national/public-library/-/document_library/v2WsRK3ZlEig/view_file/479607329?_com_liferay_document_library_web _portlet_DLPortlet_INSTANCE_v2WsRK3ZlEig_redirect=https%3A%2F%2Fkhub. net%3A443%2Fweb%2Fphe-national%2Fpublic-library%2F-%2Fdocument_library%2Fv2WsRK3ZlEig%2Fview%2F479607266

AstraZeneca. AZD1222 US Phase III trial met primary efficacy endpoint in preventing COVID-19 at interim analysis [Internet]. Astrazeneca.com. 2021 [cited 2021 May 19]. Available from: https://www.astrazeneca.com/media-centre/press-releases/2021/astrazeneca-us-vaccinetrial-met-primary-endpoint.html

Vacharathit V, Aiewsakun P, Manopwisedjaroenet S, et al. SARS-CoV-2 variants of concern exhibit reduced sensitivity to live-virus neutralization in sera from CoronaVac vaccinees and naturally infected COVID-19 patients. medRxiv preprint doi: [Internet]. /2021. [cited 2021 Oct 10] : Available from : https://doi.org/10.1101/2021.07.10.21260232

คณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สรุปประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยของวัคซีนโควิด-19 ในไทย. [อินเทอร์เน็ต]. /2564. [ เข้าถึงเมื่อวันที 10 ต.ค. 2564 ] : เข้าถึงได้จาก https://kinrehab.com/news/view/346/ประสิทธิผล-การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน-วัคซีนโควิด-19

Elecsys Anti-SARS-CoV-2 S. Roche Diagnostics GmbH : Sandhofer Strasse 116, D-68305 Mannheim; 2021.

ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. การศึกษาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไขว้ เทียบการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน. [อินเทอร์เน็ต]. /2564. [ เข้าถึงเมื่อวันที 21 ก.ย. 2564 ] : เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/news/ สุขภาพ/156853

Northwestern University. Boosters increase protection over full vaccine dose. [Internet]. /2021. [cited 2021 Nov 22] : Available from : https://news.northwestern.edu/ stories/2021/11/boosters-increase-protection-over-full-vaccine-dose/

Einav G. Levin, M.D., Yaniv Lustig, Ph.D., Carmit Cohen, Ph.D., Ronen Fluss, M.Sc., Victoria Indenbaum, Ph.D., Sharon Amit, M.D., et al. Waning Immune Humoral Response to BNT162b2 Covid-19 Vaccine over 6 Months. [Internet]. /2021. [cited 2021 Oct 6] : Available from : https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmoa2114583

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31