ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองและ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา อุตตะมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมชาย จาดศรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรม, โรคมือเท้าปาก, ผู้ปกครอง, ผู้ดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรค มือเท้าปาก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330 คน สุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple  Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูงร้อยละ 96.40 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน และทัศนคติต่อการป้องกันโรคมือเท้าปาก ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาเพื่อจัดโปรแกรมการป้องกัน   โรคมือเท้าปากโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ลดพฤติกรรมเสี่ยงและรับรู้ถึงผลกระทบจากโรคมือเท้าปากที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดโรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth). 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก

https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=11.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคมือเท้าปาก ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2560. กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น และวิภาดา ศรีเจริญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology; 2560: 2(3), 9-19.

พรพญา เตปิน, วราภรณ์ บุญเชียง และศิริตรี สุทธจิตต์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร; 2561: 39(2), 72-80.

ละมัย สิทธิโรจน์. การปฏิบัติของผู้ดูแลเด็กในการป้องกันโรคมือเท้าและปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา; 2554: 7(2), 158-168.

วิภาดา แสงนิมิตชัยกุล และปรีย์กมล รัชนกุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อโรค มือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กวัยก่อนอนุบาลและผู้ปกครอง. วารสารการพยาบาลรามาธิบดี; 2558: 21(3), 336-351.

แสงดาว เกษตรสุนทร, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. ปัจจัยทำนาย ความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือเท้าและปากของครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้. วารสารพยาบาลสาร; 2558: 42(1), 74-84.

ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, ปรัชญาพร ธิสาระ และสุทิตย์ เสมอเชื้อ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 2560: 35(2), 16-24.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. รายงานสถานการณ์โรคมือเท้าปาก ปี 2562.พะเยา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา; 2562.

โรงพยาบาลเชียงคำ. รายงานสถานการณ์โรคมือเท้าปาก ปี 2562. พะเยา: โรงพยาบาลเชียงคำ; 2562.

Daniel WW. Biostatistics : a foundation for analysis in the health sciences. 8th. Hoboken, N.J. : Wiley/John Wiley & Sons; 2005.

Green, L. W., & Kreuter, M.W. Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield; 2005

Inta C, Apidechkul T, Sittisarn S, Wongnuch P, Laor P, Suma Y, et al. Factors associated with hand foot mouth disease among children in day care center, Chiang Rai, Thailand. Asian Pacific Journal of Tropical Disease 2017;7:391-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06