การประเมินการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศิรประภา หล้าสิงห์ -
  • ปราณ สุกุมลนันทน์

คำสำคัญ:

การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ทุกประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกใช้กระบวนการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในการดำเนินการ ในปี 2563 จังหวัดชัยภูมิพบตำบลที่ผ่านการรับรองการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานไปแล้วแต่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไม่สามารถควบคุมลูกน้ำยุงลายได้ จึงได้ทำการประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการประเมินผลแบบ CIPP model กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผ่านการอบรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน ร้อยละ 52.4 รับรู้การผ่านการรับรองตำบลต้นแบบ ร้อยละ 52.4 ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.31, SD = 0.33) เมื่อแยกรายด้านพบว่า ด้านบริบท การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานมีความจำเป็น เนื่องจากสามารถช่วยให้เครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนมาทำงานร่วมกัน แต่พบปัญหาผู้รับผิดชอบงานเปลี่ยนหรือย้ายงาน ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ด้านปัจจัยนำเข้า การดำเนินงานอยู่ในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ทีมตำบลสามารถควบคุมโรคได้ทันเวลา มีการเตรียมพร้อมวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ และมีการสนับสนุนงบประมาณ ด้านกระบวนการ การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ปัจจุบันมีโครงการครอบคลุมผ่านงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ และงบอุดหนุนจากท้องถิ่น มีการแบ่งบทบาทควบคุมโรคที่ชัดเจน แต่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นมาร่วมดำเนินการ และด้านผลลัพธ์ การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า หลังจากผ่านการรับรองตำบลต้นแบบแล้ว ชุมชนมีวิธีการอื่น ๆ ในการควบคุมลูกน้ำยุงลายลดลง เน้นใช้สารเคมีในการควบคุมโรค และมีการคืนข้อมูลให้เครือข่ายในชุมชนไม่ทันต่อสถานการณ์ ขาดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ ควรมีการดำเนินการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในตำบลอีกครั้ง โดยมีหน่วยงานกลางมาเป็นผู้ประสานงานและฟื้นฟูกระบวนการ

References

องอาจ เจริญสุข. (2560). ระบาดวิทยาประยุกต์เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2562). สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย ประจำสัปดาห์ที่ 41 ปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/drive/folders/1sBAPWcKaQ6mhPFw7z0uY_LF4B__7fjb7.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. (2562). ข้อมูลรายงาน 506 ประจำสัปดาห์ที่ 41 ปี 2562. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา: นครราชสีมา.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. (2557). คู่มือการดำเนินงานการจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกตามหลักการจัดการแมลงพาหะนำโรคแบบผสมผสาน(พิมพ์ครั้งที่ 1). นครราชสีมา: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เลิศศิลป์ สาส์ณ โฮลดิ้ง.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่6). มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์.

ปราณ สุกุมลนันทน์. (2563). การประเมินผลการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออกอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ. วรสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 16(2): 35 – 44.

ชาญชัย เจริญสุข. (2562). ผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอําเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ปี 2559. วารสารควบคุมโรค. 45(1): 31 –41.

ภมร ดรุณ. (2563). การประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคไข้เลือดออกจังหวัดบึงกาฬ ปี 2562. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 3(2): 3-17.

นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี และคณะ. (2560). ถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษาการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารพยาบาลสาร. 44(1): 117-127.

วรวิทย์ วุฒา. (2561). การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอ ธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกัน ควบคุม โรค ที่ 10 จังหวัด อุบลราชธานี. 16(1): 51-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06