รูปแบบการจัดการมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหนองม่วง เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การจัดการมูลฝอยในชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหนองม่วง เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ทำการศึกษาในกลุ่มเป้าหมาย ที่เกี่ยวข้องในการจัดการมูลฝอยชุมชน คือ เจ้าบ้านหรือตัวแทนเจ้าบ้านที่อาศัยในชุมชนหนองม่วง เครือข่ายการจัดการมูลฝอยในชุมชน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
รูปแบบการจัดการมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหนองม่วง เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 92.31 ทัศนคติเกี่ยวกับมูลฝอยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 89.74 พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับดี ร้อยละ 97.44 และการมีส่วนร่วมในการจัดการ มูลฝอยของชุมชนหนองม่วงอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.28) (S.D. = 0.45) เนื่องจากประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยในหลายมิติ ตั้งแต่ขั้นริเริ่มการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน การวางแผนแก้ไขปัญหาการจัดการมูลฝอยในชุมชน การดำเนินงานการจัดการมูลฝอยในชุมชน จึงก่อให้เกิดโครงการหนองม่วงร่วมใจ สู่สิ่งแวดล้อมชุมชนน่าอยู่ขึ้น ผลจากกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดเกิดการคัดแยกขยะมูลฝอยจากครัวเรือน สามารถลดปริมาณมูลฝอย ไม่พบปัญหาขยะล้นถัง ไม่พบปัญหาขยะในถังขยะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน การเผาทำลายขยะลดน้อยลง มีการนำมูลฝอยมาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น สร้างรายได้ในครัวเรือน นำไปสู่การจัดการมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนหนองม่วงอย่างยั่งยืน
References
กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือประชาชนเพื่อการลด คัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด กชกร พับลิชชิง; 2550.
กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือแนวทางการลดคัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยสำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การ พิมพ์ (1977) จำกัด; 2560.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพฯ :กระทรวงมหาดไทย; 2554.
กัญญา จาอ้าย. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัด เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
กาบแก้ว ปัญญาไทย. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.
โกวิทย์ พวงงาม. ภารกิจ อบต. และความเข้มแข็งของประชาคมตำบล ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพชุมชนระดับตำบล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.
จุฑาภรณ์ ตาแก้ว. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะของชุมชนบ้านนาลาด ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2559.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.; 2540
ณีรวรรณ ศรแผลง. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 16(4), 701-722, 2558.
นฤมล กุศลชู. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของผู้สูงอายุในตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.
บัญชา สุวรรณสิทธิ์. การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดของเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558
ปานกมล พิสิฐอรรถกุล และเสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.
พรพิมล วิกรัยพัฒน์. การจัดการขยะในครัวเรือนชุมชนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้ง ที่ 45; 2558
วรรณวิมล แพ็งประสิทธิ์. การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
ศุภัศร์มา ยี่สุ่นศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา; 2559.
สมควร กาฬรัตน์. การส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ในชุมชน เทศบาลเมืองนาสาร อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย สุราษฎณ์ธานี; 2558.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ และนันทพล กาญจนวัฒน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543.
สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. ระเบียบวิธีวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
หนึ่งฤทัย สังข์จีน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกมูลฝอยตามโครงการขยะแห้งแลกไข่ของเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.
อรพินท์ สพโชคชัย. คู่มือการจัดการประชุมเพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน: การพัฒนาหมู่บ้าน โดยพลังประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2537.
อัญชลี เฉลยรัตน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำกรอบแผนพัฒนาตำบล กรณีศึกษา : ตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
Arnstein, S. R. A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35, 216-224; 1969.
Bloom, S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, NY: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University; 1981.
Kemmis, S., & McTaggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.
Reeder, W. W. Some Aspects of the Informal Social Participation of Farm Families in New York State. New York : Cornell University; 1998.
WHO and UNICEF. Report of the International Conference on Primary Health Care. New York : N.P. Press; 1978.