ระดับความรู้ ระดับการรับรู้ และระดับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ไวรัสซิกา, ระบาด, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
ไข้ซิกาหรือโรคไวรัสซิกาเกิดขึ้นโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยหากพบในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์สามารถส่งต่อเชื้อผ่านทางมารดาไปยังทารกและทำให้ทารกมีศีรษะเล็กได้ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับการรับรู้ และระดับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดราชบุรี งานวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี ผู้วิจัยทำการเก็บแบบสอบถามจำนวน 95 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์พบว่า รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไวรัสซิกาจากอินเทอร์เน็ตมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.23) ผลการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสซิกาในจังหวัดราชบุรี พบว่า ผู้ป่วยโรคซิกาสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มากสุดช่วงป่วย 10 วันแรก ตอบถูกมากที่สุด (ตอบถูกร้อยละ 88.4) ผลการวิเคราะห์การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาในจังหวัดราชบุรี พบว่าท่านมีการปิดประตูห้องนอนทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามา หรือนอนในห้องปรับอากาศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2.53 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไวรัสซิกาในจังหวัดราชบุรี อยู่ระดับน้อย สำหรับความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสซิกาในจังหวัดราชบุรี และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาในจังหวัดราชบุรี อยู่ในระดับปานกลาง
References
Department of Disease Control. Knowledge of Zika virus disease from http: //beid.ddc. Moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/factsheet_zika 020259.pdf
Musso, D.; Nilles, E.J.; Cao-Lormeau, V.-M. (2014). Rapid spread of emerging Zika virus in the Pacific area". Clinical Microbiology and Infection 20 (10): O595–6. doi:10.1111/1469-0691.12707.
Chen, LH; Hamer, DH. (2016). Zika Virus: Rapid Spread in the Western Hemisphere. Annals of internal medicine.
Yenpoca ,S. (2010). A study of factors affecting infiuenzaa, H1N1 preventative behavior of matthayomsuksai-III students in Bangkok metropolitan, east Bangkok. Srinakharinwirot University.
Supida Yenpoka. (2010). Factors Affecting Prevention Behavior of New Influenza 2009 in Grade 3 Students under the Bangkok Metropolitan Administration. Eastern Bangkok Area Group, Graduate School Srinakharinwirot University
Chantapitchaya Photisajan; and faculty. Behavior of avian influenza prevention behavior of the network of health leaders. [Retrieved 3 Nov 2019] จาก http://www.hed.go.th/indexpage/ h_update/show.aspx?id=
Haleem Toh Jeh. (2008). Behavior of self-protection from malaria of the people in Ban Jar Sub-district, Than To District, Yala Province. Special Public Health Problems Bachelor of Science. Yala: College of Public Health Sirindhorn, Yala Province.
Singh RK, Haq S and Dhiman RC. (2014). Studies on Knowledge, Attitude and Practicesin Malaria Endemic Tribal Areas of Bihar and Jharkhand,India.Journal of Tropical Diseases. National Institute of Malaria Research (ICMR), Dwarka,New Delhi, India.
Wanchai Sihawong. (2009). Malaria prevention and control behavior of people in the border areas of Thailand-Laos and Cambodia. Academic work, Ministry of Public Health. Bangkok: Royal Thai Police.